เห็นภาพหลอน-หูแว่ว-คลุ้มคลั่ง ไม่ใช่เรื่องผีสาง ควรพบจิตแพทย์

เห็นภาพหลอน-หูแว่ว-คลุ้มคลั่ง ไม่ใช่เรื่องผีสาง ควรพบจิตแพทย์

เห็นภาพหลอน-หูแว่ว-คลุ้มคลั่ง ไม่ใช่เรื่องผีสาง ควรพบจิตแพทย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมสุขภาพจิตเผยผู้ที่มีอาการหลอน คลุ้มคลั่ง ไม่ว่าจากยาเสพติด ยาลดความอ้วน เป็นอาการป่วยของโรคทางจิตเวชชัดเจน ไม่ใช่เกิดจากถูกเวทมนต์ ผีเข้าสิง ย้ำต้องพาผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลเป็นที่แรก

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีมีข่าวประชาชนบางส่วนพาผู้ป่วยที่มีอาการหลอนจากยาเสพติด ยาลดความอ้วน บางรายมีอาการคลุ้มคลั่ง ญาติต้องล่ามโซ่และพาไปพึ่งการทำพิธีกรรมรักษาทางไสยศาสตร์ หรือรดน้ำมนต์จากผู้ที่อยู่นอกวงการแพทย์ว่า เรื่องนี้เป็นทั้งความเชื่อส่วนบุคคลและความเข้าใจผิด แม้ว่าขณะนี้การแพทย์จะเจริญก้าวหน้าก็ตาม แต่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ก็ยังมีปรากฎในสังคมไทย โดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดมาจากอำนาจเหนือธรรมชาติหรือผิดธรรมชาติ เมื่อเจ็บป่วยขึ้นก็มักจะแก้ปัญหาหรือบำบัดรักษาตามความเชื่อ ทั้งการรักษาด้วยน้ำมนต์ หมอพระ หมอผี คนทรง เป็นต้น เป็นเรื่องที่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน

“ขอยืนยันว่า ผู้ที่มีอาการประสาทหลอน เช่น ได้ยินเสียงคนพูดขณะที่ไม่มีใครอยู่ใกล้เลย เห็นภาพแปลกๆ รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ตามร่างกาย หรือมีอาการคลุ้มคลั่ง เอะเอะเกรี้ยวกราด ทำร้ายคนใกลัตัว ยิ้มคนเดียว พูดพึมพรำเรื่อยเปื่อยเป็นอาการป่วยของโรคทางจิตเวชชัดเจน หรืออาจเป็นความผิดปกติในสมอง ทำให้บุคลิกภาพผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคน ทั้งด้านพฤติกรรม ความคิดและอารมณ์ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ญาติเข้าใจผิดว่าถูกผีวิญญานเข้าสิง หรือถูกคุณไสย

ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ป่วยทางจิตเวชเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากกรรมพันธุ์ ความกดดัน ความเครียด อุบัติเหตุทางสมอง และจากสารเสพติด โดยเฉพาะยาบ้า เหล้า ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติไม่ได้เกิดมาจากถูกคุณไสย เวทมนต์ ผีเข้าสิง แต่อย่างใด” อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อไปว่า ประเด็นเร่งด่วนสำคัญที่สุดและเป็นที่พึ่งแห่งแรกก็คือต้องพาผู้ป่วยไปรับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลให้เร็วที่สุด โดยแพทย์จะให้กินยาต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการกำเริบซ้ำพร้อมทั้งฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านกายจิตสังคมและวิญญาณ เพื่อผดุงรักษาระดับความสามารถเดิมของผู้ป่วยในการทำกิจกรรมภารกิจประจำวัน

 

ด้านนายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จ.นครพนม กล่าวว่า เมื่อพาผู้ป่วยทางจิตเวชไปทำพิธีกรรมตามความเชื่อ มีข้อควรระมัดระวังดังนี้

1. ให้หลีกเลี่ยงการไปรักษาด้วยวิธีการที่อาจเป็นอันตราย เช่น การใช้ของมีคมกับร่างกาย หรือทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ เช่น ใช้ไม้เฆี่ยนตีไล่วิญญาณ

2. การรับประทานยาหรือดื่มน้ำที่อาจจะไม่สะอาดและไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติสับสนไม่รู้เวลาสถานที่ ยิ่งต้องควรระวัง เนื่องจากอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในสมองหรือระบบประสาท เช่นมีเลือดคั่งในสมอง มีภาวะเกลือแร่ผิดปกติอย่างรุนแรงซึ่งมีโอกาสเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook