อันตรายถึงชีวิต หากไม่ทาน “อาหารเช้า”

อันตรายถึงชีวิต หากไม่ทาน “อาหารเช้า”

อันตรายถึงชีวิต หากไม่ทาน “อาหารเช้า”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ด้วยชีวิตอันเร่งรีบของชาวเมืองหลายคน อาจทำให้ไม่ได้ทานอาหารเช้ากันทุกวัน หรือบางคนอาจไม่เคยทานอาหารเช้าเลยด้วยซ้ำ บางคนไม่ทานจนชิน ไม่รู้สึกหิว จึงไม่รู้สึกอะไร แต่ที่จริงแล้วการที่คุณมองข้ามความสำคัญของอาหารเช้าไป อาจทำให้เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตโดยไม่รู้ตัว

มีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า การไม่ทานอาหารเช้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น แต่ยังมีจากงานวิจัยของวารสารของสถาบันการศึกษาด้านหัวใจของอเมริกัน ที่ระบุเพิ่มเติมว่า การไม่ทานอาหารเช้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะหลอดเลือดแข็งในระดับแรกๆ อีกด้วย

มีการทดลองกับกลุ่มชายหญิงชาวสเปน อายุ 40 ถึง 54 ปี ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกทานอาหารเช้าน้อยราว 5% กลุ่มที่สองทานอาหารเช้าราว 20% และกลุ่มที่สามทานอาหารเช้ามากกว่า 20% เทียบจากจำนวนแคลอรี่ทั้งหมดของอาหารเช้า 1 มื้อ พบว่า 3% ของคนทั้งหมดอยู่ในกลุ่มแรก คือทานอาหารเช้าน้อยมาก จนแทบเหมือนจะไม่ได้ทาน เพราะทานเพียงกาแฟ น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ 1 แก้ว ในขณะที่ส่วนใหญ่กว่า 69% จะอยู่ในกลุ่มที่สอง คือทานอาหารเช้าในปริมาณที่น้อย โดยอาจทานแค่ขนมปังชิ้นเล็กๆ และที่เหลืออีก 28% จัดอยู่ในกลุ่มที่สาม คือ ทานอาหารตามปกติ

คนที่ทานอาหารเช้าน้อยมาก หรือแทบไม่ได้ทานอาหารเช้าเลย จะมีความเสี่ยงกับภาวะหลอดเลือดแข็งมากกว่า 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ทานอาหารเช้าเป็นปกติ นอกจากนี้ยังเสี่ยงเป็นเจ้าของรอบเอวที่หนาขึ้นเรื่อยๆ ค่า BMI หรือดัชนีมวลกายเพิ่มมากขึ้น (อ้วนขึ้น) ความดันโลหิตสูงขึ้น  คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า คนที่ไม่ทานอาหารเช้า หรือทานน้อยมาก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชีวิตที่ไม่เหมาะสม ทำลายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ดื่มแอลกอฮอล์หนัก สูบบุหรี่จัด หรืออยู่ในภาวะอ้วน น้ำหนักเกินมาตรฐาน เป็นต้น

อีกรายงานวิจัยหนึ่งจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย นักวิจัยที่ซานฟรานซิสโก และสถาบันหัวใจ ปอด และโลหิตแห่งชาติ ระบุว่า การไม่ทานอาหารเช้าอาจก่อให้เกิดภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล และทำให้การทำงานของนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไป นั่นอาจส่งผลให้คนๆ นั้นมีความอยากอาหารมากขึ้น และทานอาหารมากขึ้นในวันต่อๆ ไป เพื่อทดแทนอาหารเช้าที่ไม่ได้ทาน (โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ)

ในทางตรงกันข้าม หากเราทานอาหารเช้าในปริมาณที่พอเหมาะ และมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพครบครัน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอ้วน ความดันโลหิตเป็นปกติ รวมไปถึงสุขภาพในด้านอื่นๆ ดีขึ้นไปด้วยตามลำดับ

เพราะฉะนั้นด้วยเหตุผลเหล่านี้ ประโยคที่ว่า “อาหารเช้าเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่สุดของวัน” จึงน่าจะยังเป็นความจริงอย่างชัดเจนอยู่เหมือนเดิม

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook