6 อาการทางจิตที่ควรรีบส่งพบแพทย์โดยด่วน

6 อาการทางจิตที่ควรรีบส่งพบแพทย์โดยด่วน

6 อาการทางจิตที่ควรรีบส่งพบแพทย์โดยด่วน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมสุขภาพจิตจับมือ สพฉ.นำส่งผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน 6 กลุ่มอาการ ทุกสิทธิเข้ารักษาจนพ้นวิกฤต ขอความร่วมมือประชาชน พบเห็น แจ้ง 1669

นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยภายหลังลงนามบันทึกความร่วมมือกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เรื่องการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินด้านสุขภาพจิตและการพัฒนาเครือข่ายงานป้องกันและการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพจิต ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. สุขภาพจิต พ.ศ.  2551 ว่า มีข้อตกลงดำเนินการ 4 มาตรการ ได้แก่

  1. พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินสุขภาพจิต

  2. วางมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน พัฒนาหลักเกณฑ์จำแนกกลุ่มอาการผิดปกติทางจิต เกณฑ์และวิธีการในการออกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตในระยะวิกฤติฉุกเฉิน

  3. พัฒนาศักยภาพและขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับในรพ.สังกัดภาครัฐทุกแห่ง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินด้านสุขภาพจิต

  4. ร่วมกันจัดทำแผนและดำเนินการขับเคลื่อนเครือข่ายงานด้านการป้องกันและการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพจิต

 

นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพจิตถือเป็นภาวะวิกฤติอย่างผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจที่แสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่รุนแรงซึ่งเป็นอันตรายทั้งต่อตนเอง ทรัพย์สิน และสังคมรอบข้าง จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ซึ่งมี 6 ลักษณะ คือ

  1. หูแว่ว

  2. เห็นภาพหลอน

  3. หวาดระแวงไร้เหตุผล

  4. ก้าวร้าว อาละวาด

  5. หลงผิดคิดว่าตัวเองมีความสามารถเหนือคนอื่นเช่นเป็นเทพเจ้า เทพเทวดา

  6. แต่งกายแปลกกว่าคนปกติและมีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือคนอื่น

 

ทั้งนี้ในปี 2560 มีผู้ป่วยทางจิตในระยะฉุกเฉินได้รับการนำส่งรักษา 16,697 ครั้งเพิ่มจากปี 2551 ที่มี 11,266 ครั้ง ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะมีการประสานและนำส่งผู้มีอาการผิดปกติทางจิตในระยะฉุกเฉิน ทุกสิทธิ์ให้ได้รับการรักษาในจนพ้นภาวะฉุกเฉิน เริ่มตั้งแต่ส.ค.นี้เป็นต้นไป หากประชาชนพบเห็นผู้ที่มีอาการที่กล่าวสามารถแจ้งที่สายด่วน 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook