“ภาวะตกเลือด” ระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร ปฐมพยาบาลอย่างไร

“ภาวะตกเลือด” ระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร ปฐมพยาบาลอย่างไร

“ภาวะตกเลือด” ระหว่างตั้งครรภ์ คืออะไร ปฐมพยาบาลอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงเวลาที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาที่ควรระมัดระวังตัวเองให้มากที่สุด เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการผิดปกติจนอาจส่งผลต่อบุตรในครรภ์ได้ มีภาวะอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์อยู่หลายอย่าง โดยอาการที่พบได้ชัด คือการมีเลือดออกมาจากช่องคลอด อาจจะคลำเจอก้อนที่ท้อง และอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย หรือหน้ามือในขณะที่ลุกขึ้นยืน

นอกจากนี้ยังมีอาการ “ภาวะตกเลือด” ที่เป็นอีกหนึ่งภาวะอันตรายที่อาจสังเกตได้ไม่ชัดเจน และส่งผลถึงชีวิตของลูกน้อยในท้อง รวมถึงคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วย

 

ภาวะตกเลือด คืออะไร?

ภาวะตกเลือด หรือเลือดตกใน คือภาวะฉุกเฉินที่มีเลือดออกจากเส้นเลือดภายในร่างกาย แต่ไม่ไหลออกมาภายนอกให้เห็นชัดเจน แต่จะทำให้คุณแม่เสียเลือดเป็นจำนวนมาก โดยที่เลือดไม่ได้ไหลออกมาให้เห็นได้จากภายนอก จึงเป็นภาวะอันตรายที่ต้องสังเกตอาการอื่นๆ ข้างเคียงให้ดี เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่ รวมถึงลูกน้อยในครรภ์ได้โดยไม่รู้ตัว

 

สาเหตุของภาวะตกเลือด ขณะตั้งครรภ์

ภาวะตกเลือดขณะตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่เลือกออกจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่อาจทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ หรืออวัยวะภายใน และ/หรือเส้นเลือดฉีกขาดจากความดันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง จนทำให้เส้นเลือดบางแห่งแตกได้ เป็นต้น

 

อาการของภาวะตกเลือด

  1. ซึม อ่อนเพลีย ซีด

  2. เหงื่อออก ตัวเย็น

  3. ชีพจรเต้นเบา และเร็ว

  4. หายใจเร็ว

  5. อาจหน้ามืด หรือเป็นลม หมดสติได้

 

การช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ที่อนู่ในภาวะตกเลือด

  1. รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อเรียกทีมแพทย์ฉุกเฉินมารับผู้ป่วย และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

  2. ระหว่างรอทีมแพทย์ ให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ยกเท้าขึ้นให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าศีรษะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมอง และป้องกันอาการช็อก

  3. ห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายผู้ป่วย

  4. คอยสังเกตชีพจร และการหายใจของผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา ถ้าหยุดหายใจควรรีบช่วยหายใจทันที

>> CPR ปั๊มหัวใจ ทำตอนไหน? ทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง?

 

คุณแม่ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ช่วงที่เริ่มตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อเช็กสุขภาพทั้งตัวคุณแม่ และเด็กในครรภ์เรื่อยๆ ตามเวลาที่แพทย์นัด หากมีความผิดปกติก่อนเวลาแพทย์นัด ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook