ทานนม-น้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยง “ลำไส้รั่ว”

ทานนม-น้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยง “ลำไส้รั่ว”

ทานนม-น้ำตาลมากเกินไป อาจเสี่ยง “ลำไส้รั่ว”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากคุณนึกถึงท่อน้ำ หรือสายยางที่รั่วแตก ของเหลวจากท่อจะไหลซึมออกมาสู่ภายนอก ซึ่งปัญหานี้ก็เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่อาจทำให้เราสูญเสียน้ำไปบางส่วน น้ำไหลเฉอะแฉะพื้น และบริเวณรอบข้าง และยังแก้ไขได้ง่ายๆ เพียงเปลี่ยนท่อใหม่ แต่อาการของ “ลำไส้รั่ว” ไม่ใช่เพียงแค่นั้น เพราะนอกจากเราจะเปลี่ยนลำไส้ของตัวเองไม่ได้แล้ว สิ่งที่รั่วซึมออกมายังเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมากจนไม่สามารถละเลยได้อีกด้วย

ลำไส้รั่ว คืออะไร?

ลำไส้รั่ว คืออาการที่เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้อักเสบบวม ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ที่ส่วนของสารพิษ และอาหารที่ย่อยไม่เสร็จสมบูรณ์ที่เตรียมส่งไปทางลำไส้ใหญ่เพื่อลำเลียงขับถ่ายออกไปจากร่างกายสามารถเล็ดลอดเข้าไปสู่ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายได้ ทำให้เป็นสาเหตุของอาการอักเสบในส่วนต่างๆ ของร่างกายตามมาได้

 

สาเหตุของลำไส้รั่ว

จริงๆ แล้วสาเหตุที่แน่ชัดของลำไส้รั่วยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการลำไส้รั่ว ได้แก่

  • ความเครียดสะสม

  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • รับประทานอาหารประเภทนม และน้ำตาลมากเกินไป

  • ทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน (สำหรับคนที่ไวต่อกลูเตนอยู่แล้ว)

  • สูบบุหรี่

  • ดื่มแอลกอฮอล์

  • ลำไส้อักเสบจากผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ หรือยากลุ่ม NSAIDS ที่ทานอยู่เป็นประจำ

 intestinesการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของลำไส้รั่ว

 

อาการของลำไส้รั่ว

สัญญาณอันตรายของโรคลำไส้รั่ว ได้แก่

  • มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้น ทำให้รู้สึกอึดอัดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้องเพราะมีแก๊สมากเกินไป

  • เหนื่อย หรือเพลียง่าย ทั้งๆ ที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

  • มือเท้าเย็น โดยไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ ของโรคต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่น ไทรอยด์

  • ปวดศรีษะ หรือปวดตามข้อโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • มีอาการแพ้อาหารแฝง (ไม่ได้มีอาการแพ้อาหารหลังทานโดยทันทีอย่างเห็นได้ชัด เช่น อาจรู้สึกท้องอืด แน่นท้อง อ่อนเพลีย หรือมีอาการคันเล็กๆ น้อยๆ หลังจากทานอาหารบางประเภทไปสักระยะหนึ่ง)

  • น้ำหนักขึ้นง่ายผิดปกติ

  • มีผื่น หรือสิวขึ้นเรื้อรังรักษาไม่หาย

เป็นต้น

ทั้งนี้ การจะทราบว่าเรามีอาการลำไส้รั่วหรือไม่ ต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจเช็กร่างกาย และซักประวัติอย่างละเอียดด้วยตัวของแพทย์เอง

 

การรักษาอาการลำไส้รั่ว

  1. แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้เอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร

  2. ให้รับประทานวิตามิน และกรดอะมิโนที่ช่วยซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้ให้แข็งแรง

  3. ให้ทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้

  4. ลดการทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของลำไส้

  5. ลดความเครียด ด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อเป็นการผ่อนคลาย

  6. แพทย์อาจแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหาร การพักผ่อน รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ควรทำในชีวิตประจำวัน ให้ลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook