“ฟลาโวนอยด์” ใน “ชาเขียว-ชาดำ” เคล็ดลับสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคหัวใจ-ไขมันในเลือด

“ฟลาโวนอยด์” ใน “ชาเขียว-ชาดำ” เคล็ดลับสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคหัวใจ-ไขมันในเลือด

“ฟลาโวนอยด์” ใน “ชาเขียว-ชาดำ” เคล็ดลับสุขภาพ ลดเสี่ยงโรคหัวใจ-ไขมันในเลือด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เครื่องดื่มตระกูลชา โดยเฉพาะชาเขียว และชาดำต่างๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะคนเอเชียอย่างชาวจีน ชาวญี่ปุ่นที่นิยมดื่มชาร้อนๆ มานานนับหลายศตวรรษแล้ว แต่ชาเหล่านี้มีดีอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร มาไขความลับสุขภาพดีจากชากันดีกว่า

“ฟลาโวนอยด์” เคล็ดลับสุขภาพดีของชา

สารฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่พบได้ในผักผลไม้หลายชนิด ไม่ได้พบแค่ในชาเขียว และชาดำเท่านั้น หากแต่ยังพบได้ใน ยอ ถั่วเหลือง กระชายดำ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น และเครื่องดื่มอย่างไวน์ เป็นต้น โดยฟลาโวนอยด์มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

ฟลาโวนอยด์ที่พบในพืช แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • นารินจิน (Naringin) เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่ให้รสขมในเปลือกของผลไม้พืชตระกูลส้ม (citrus fruit)

  • แคทีชิน (Catechin) พบในใชชาพบมากในชาเขียว


ประโยชน์ของฟลาโวนอยด์

  1. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด (รวมถึงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง)

  2. ลดระดับคอเลสเตอรอล คราบพลัค และไขมันเลวในเลือด และใหนหลอดเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  3. ช่วยปรับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ

  4. การดื่มชาเขียว หรือชาดำ ให้ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองตื่นตัว เพราะมีคาเฟอีนครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับกาแฟในปริมาณเดียวกัน เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการคาเฟอีนในปริมาณไม่มากเท่าการดื่มกาแฟ
  5. ความไวปฏิกิริยาของหลอดเลือดดีขึ้น หมายถึงการที่หลอดเลือดมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารเคมี และความตึงเครียดทางอารมณ์นั่นเอง ซึ่งเมื่อหลอดเลือดมีปฏิกิริยาที่ดี ก็จะช่วยให้หลอดเลือดมีการไหลเวียนของโลหิต และปฏิกิริยาอื่นๆ เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น


อย่ารับประทานฟลาโวนอยด์มากเกินไป

ถ้าคิดว่าฟลาโวนอยด์มีประโยชน์ จะโหมดื่มชาเป็นลิตรๆ ต่อวันแล้วล่ะก็ ขอให้หยุดคิดไปได้เลย เพราะการดื่มชามากเกินไป ส่งผลเสียต่อการทำงานของไต เพราะทั้งชาเขียว ชาดำ หรือชาอื่นๆ จะมีสารออกซาเลตอยู่ปริมาณหนึ่ง หากได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ จนทำให้ไตต้องกำจัดออกไปบ่อยๆ อาจตกค้างเป็นผลึกจนกลายเป็นนิ่วในไตได้

ดังนั้น หากอยากจะดื่มชาเพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี ควรดื่มไปตามธรรมชาติวันละ 1-2 แก้ว เลือกดื่มชาร้อนไม่ใส่น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ หรือใส่น้ำตาลให้น้อยที่สุด ไม่ควรดื่มเพราะคิดว่าชาเป็นยารักษาโรค และชาชงจากใบชาแท้ๆ จะดีกว่าชาขวด หรือชากระป๋อง เพราะอาจมีส่วนประกอบที่เป็นชาน้อย และน้ำตาลสูง เครื่องชาน้ำตาลสูงจะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากการดื่มชาน้อยลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook