“โรคซึมเศร้า” กับแบบทดสอบเบื้องต้น คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า?

“โรคซึมเศร้า” กับแบบทดสอบเบื้องต้น คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า?

“โรคซึมเศร้า” กับแบบทดสอบเบื้องต้น คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือเปล่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำถามยอดฮิตของคนที่กำลังเครียด เศร้า ไม่มีความสุขหลายคนคือ “เรากำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?” หลายครั้งที่คิดว่าตัวเองน่าจะเป็นแน่ๆ แต่ไปตรวจแล้วไม่ได้เป็น หรือบางคนอาจจะคิดว่าแค่เครียดเฉยๆ แต่จริงๆ แล้วกำลังทรมานกับโรคซึมเศร้าอยู่โดยไม่รู้ตัว หากยังไม่แน่ใจตัวเองอยู่แบบนี้ ลองทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าง่ายๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยดูก่อนตัดสินใจไปโรงพยาบาลก็ยังได้

>> เช็ก 9 พฤติกรรมสัญญาณเตือน "โรคซึมเศร้า"


ประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

จดคำตอบของแต่ละข้อเอาไว้ แล้วมารวมคะแนนทีหลัง


จงเลือกตอบคำถามข้อ 1-9 ด้วยตัวเลือกเหล่านี้

>> ไม่เป็นเลย

>> เป็นบางวัน (1-7 วันต่อสัปดาห์)

>> เป็นบ่อย (มากกว่า 7 วันต่อสัปดาห์)

>> เป็นแทบทุกวัน

  1. เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไรทั้งนั้น

  2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้

  3. หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป

  4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง

  5. เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป

  6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดตลอดเวลาว่าตัวเองไม่ดีพอ เป็นคนล้มเหลวในชีวิต ทำให้ตัวเองและครอบครัวผิดหวัง

  7. ไม่ค่อยมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นอินเตอร์เน็ต ฟังเพลง หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ

  8. พูด หรือทำอะไรช้าเกินไปจนคนอื่นสังเกตเห็น หรือกระสับกระส่ายอยู่ไม่สุข ไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้เหมือนเคย

  9. เคยคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่อยู่แล้วคงจะดี


คิดคะแนนโดย

ไม่เป็นเลย = 0 คะแนน

เป็นบางวัน = 1 คะแนน

เป็นบ่อยๆ = 2 คะแนน

เป็นแทบทุกวัน = 3 คะแนน


หากได้คะแนน 0-6 คะแนน

ปกติ

ควรดูแลสุขภาพจิตของตัวเองให้ดีแบบนี้ต่อไป


หากได้คะแนน 7-12 คะแนน

ซึมเศร้าเล็กน้อย

ควรได้รับคำปรึกษา หรือบำบัดทางจิตเวชโดยจิตแพทย์


หากได้คะแนน 13-18 คะแนน

ซึมเศร้าปานกลาง

ควรได้รับคำปรึกษา หรือบำบัดทางจิตเวชโดยจิตแพทย์


หากได้คะแนน 19-27 คะแนน

ซึมเศร้ารุนแรง

ควรได้รับคำปรึกษา หรือบำบัดทางจิตเวชโดยจิตแพทย์อย่างเร่งด่วน


อย่างไรก็ตาม แบบประเมินนี้เป็นเพียงการประเมินด้วยตนเองในเบื้องต้นเท่านั้น หากได้มากกว่า 7 คะแนน หรือรู้สึกทรมาน ไม่มีความสุข เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปจนคนรอบข้างสังเกตเห็น ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยตรงจะดีที่สุด

 

>> 3 เรื่องเกี่ยวกับ “โรคซึมเศร้า” ที่คนมักเข้าใจผิด

>> สิ่งไหนควร-ไม่ควรทำ หากคนใกล้ตัวเป็น "โรคซึมเศร้า"

>> ทำความรู้จัก "โรคซึมเศร้า" และวิธีการดูแล ฟื้นฟู จิตใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook