กิน “อาหารเช้า” ช่วย “ลดน้ำหนัก” จริงหรือ?

กิน “อาหารเช้า” ช่วย “ลดน้ำหนัก” จริงหรือ?

กิน “อาหารเช้า” ช่วย “ลดน้ำหนัก” จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารเช้าสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเพื่อให้เราทำกิจกรรมไปตลอดทั้งวัน หรืออย่างน้อยก็จนกว่าจะถึงช่วงพักเที่ยงอันแสนยาวนาน แต่การรับประทานอาหารเช้าเกี่ยวข้องกับ “น้ำหนัก” ของร่างกายของเราหรือเปล่า มาดูข้อมูลของคุณหมอโมนีค เทลโล (Monique Tello, MD, MPH) ที่เขียนอธิบายเอาไว้ในเว็บไซต์ Harvard Health Publishing กันดีกว่า


ร่างกายเกิดอะไรขึ้น เมื่อเรารับประทานอาหารเช้า?

อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่า เมื่อเราไม่ได้รับพลังงานมาจากอาหารมาตลอดทั้งคืนเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยเฉพาะบางคนที่กำลังอดอาหารยาวนานถึง 16 ชั่วโมงเพื่อการลดน้ำหนักที่เรียกว่า การงดมื้ออาหาร หรือ intermitten fasting (>> งดมื้ออาหาร (Intermittent Fasting) เทรนด์ใหม่ “ลดน้ำหนัก” อย่างถูกวิธี) จึงมองว่าอาหารเช้าเป็นสิ่งแรกที่ควรทำเพื่อให้อาหารตกถึงท้อง อาจไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะการอดอาหารในช่วงเวลาหนึ่ง ช่วยเรื่องลดน้ำหนักได้ และยังช่วยปรับการทำงานของระบบเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้นอีกด้วย เมื่อเราอดอาหาร ร่างกายจะเริ่มดึงพลังงานจากไขมันที่เก็บสะสมไว้ออกมาใช้ จึงทำให้เราลดน้ำหนักได้ แต่หากเราคอยเติมพลังงานก่อนที่ร่างกายจะดึงพลังงานจากไขมันที่เก็บเอาไว้มาใช้ เราก็จะลดน้ำหนักไม่ได้


รับประทานอาหารเช้า ดีต่อสุขภาพ?

แม้ว่าจะมีผลงานวิจัยพบว่า คนที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำจะมีสุขภาพดี มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก็ไม่ได้มีรายงานที่ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นเพราะอาหารเช้าที่ทำให้คนมีน้ำหนักปกติ อาจเป็นเพราะคนที่รับประทานอาหารเช้าใช้ชีวิตทำงานตอนกลางวันตามปกติ และมีวิถีชีวิตทำกิจกรรมทุกอย่างตามปกติที่ควรเป็นในแต่ละวัน และนอกจากอาหารเช้าแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สำคัญต่อการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งประเภท หรือปริมาณของอาหารเช้าที่รับประทาน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยของนักวิจัยจากเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย จากกลุ่มตัวอย่างทั้งคนปกติ และคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แบ่งออกเป็นกลุ่มรับประทานอาหารเช้าตามปกติ (อาหารอย่างเดียวกัน ในปริมาณที่เท่ากัน) พบว่า คนที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ ทั้งคนปกติ และคนที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน รับประทานอาหารระหว่างันมากขึ้นราว 260 กิโลแคลอรี่ ใน 2 สัปดาห์ และน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ½ กิโลกรัมใน 7 สัปดาห์ มากกว่าคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า งานวิจัยนี้จึงสามารถลบความเชื่อที่ว่า “การรับประทานอาหารเช้าทำให้เรารับประทานอาหารในมื้ออื่นๆ ได้น้อยลง จึงทำให้น้ำหนักลดได้” นั่นเอง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากเวลาในการรับประทานอาหาร มักจะเป็นการรับประทานอาหารก่อนเวลาเข้านอนมากกว่า ที่อาจส่งผลถึงน้ำหนักเกินได้


อย่างไรก็ตาม ผลงานของวิจัยนี้ไม่ได้รับการยอมรับในทุกๆ คน ยังมีบางคนมองว่า อาหารที่ให้แต่ละคนรับประทานยังไม่ได้มีการพิสูจน์ และเก็บข้อมูลโดยละเอียดว่าเป็นหากรับประทานอาหารต่างชนิดกัน จะให้ผลลัพธ์เหมือนเดิมหรือไม่

แต่กล่าวโดยสรุป อาหารในมื้อเช้ายังคงสำคัญต่อร่างกายในฐานะมื้อแรกของวันที่ช่วยให้พลังงานต่อร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดในช่วงเช้า แต่อาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ต่อการลดน้ำหนักแต่อย่างใด


เราควรรับประทานอาหารเช้าหรือไม่?

หากคุณหิว รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน และสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีไม่มีปัญหาอะไร ก็สามารถรับประทานอาหารเช้าต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่มีปัญหา แต่หากคุณกำลังมีปัญหาในเรื่องของระบบการย่อยอาหารที่เริ่มไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ในที่นี้คือ รู้สึกว่ารับประทานอาหารน้อย แต่ยังอ้วนอยู่ ลองเปลี่ยนอาหารเช้าจากข้าวเหนียวหมูปิ้ง ข้าวมันไก่ โจ๊ก ข้าวต้มหนักๆ มาเป็นอะไรที่เบาขึ้นอย่าง นม โยเกิร์ต ผลไม้ หรือชา กาแฟ เครื่องดื่มต่างๆ อย่ารับประทานอาหารหนักๆ ก่อนเข้านอน และลองวางแผนให้ร่างกายได้ดึงพลังงานจากไขมันที่สะสมอยู่มาใช้บ้าง โดยปล่อยให้ปากว่าง ไม่มีอาหารกลืนลงท้องสักพักใหญ่ๆ เท่านี้ระบบเผาผลาญพลังงานของคุณก็จะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

>> งดมื้ออาหาร (Intermittent Fasting) VS จำกัดปริมาณอาหาร วิธีไหนช่วย “ลดน้ำหนัก” ได้ดีกว่ากัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook