ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ก่อนวัยอันควร
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/3/16665/bone.jpgไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ก่อนวัยอันควร

    ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" ก่อนวัยอันควร

    2019-06-24T06:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    โรคกระดูกพรุน อันตรายที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น การไม่ออกกำลังกาย และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

    โรคกระดูกพรุน หมายถึง โรคที่ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเหตุที่อุบัติเหตุเล็กน้อยก็อาจจะทำให้กระดูกหักได้ ความสำคัญกับอันตรายของโรคนี้ ถ้าเป็นปกติโดยทั่วไปเดินหกล้มบนพื้นราบธรรมดา เราไม่เป็นอะไร อย่างมากเราอาจจะข้อเท้าพลิก เจ็บมือนิดหน่อย เอามือยันพื้นได้ แต่กลุ่มคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน เราลื่นล้มบนพื้นราบ ก็อาจจะทำให้เกิดกระดูกหักได้ มือยันพื้น ข้อมือหัก สะโพกกระแทกพื้นสะโพกหัก นี่คือความอันตรายของโรคกระดูกพรุน

    อ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี ศัลยแพทย์กระดูกและข้อสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เผยถึงสาเหตุของโรคกระดูกพรุน ในรายการพบหมอรามาฯทางสถานี RAMA CHANNE ว่า ปกติกระดูกของเราจะมีการสร้างและการทำลายกระดูกอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงอายุก่อน 30-35 ปีเราจะมีการสร้างและการทำลายกระดูก ที่มีการสร้างมากกว่าการทำลาย เพราะฉะนั้นกระดูกจะค่อยๆ แข็งขึ้นเรื่อยๆ หลังจากอายุ 30-35 ปี ช่วงประมาณ 5-10 ปี มวลกระดูกจะคงที่คือมีการสร้างและการทำลายที่สมดุลกัน หลังจากผ่านระยะนั้นไปคือประมาณอายุ 40 ปีเป็นต้นไป การทำลายกระดูกจะเริ่มมากกว่าการสร้าง เพราะฉะนั้น โดยธรรมชาติของเรากระดูกจะค่อยๆ บางลงเรื่อยๆ จากการทำลายกระดูกที่เยอะกว่าการสร้างกระดูก เพราะฉะนั้น ยิ่งเราแก่ตัวไป กระดูกเราจะค่อยๆ บางไปตามธรรมชาติระดับของกระดูกพรุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเราสะสมมวลกระดูกตั้งแต่ช่วงอายุแรกเกิดจนถึง 30 ปี ไว้มากน้อยแค่ไหน


    ปัจจัยที่ทำให้เราเป็นกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร

    ปัจจัยที่ทำให้เราเป็นกระดูกพรุนก่อนวัยอันควร มีทั้งโรคประจำตัวต่างๆ และลักษณะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

    • โรคเบาหวาน

    • โรครูมาตอยด์ต่างๆ

    • โรคไทรอยด์ โรคเกี่ยวกับต่อมพาราไทรอยด์

    • ต่อมหมวกไตมีปัญหา

    • กลุ่มที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ

    ส่วนลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นกระดูกพรุน ได้แก่

    • กลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

    • ใช้ชีวิตนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

    • สูบบุหรี่

    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

    พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้มีความเสี่ยงเป็นกระดูกพรุนมากกว่าคนทั่วไป

    สำหรับอาการโรคนี้จะไม่มีอาการอะไรให้เราเห็นเลย เขาจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อกระดูกเราหักไปแล้ว เพราะฉะนั้นแล้ว การตระหนักถึงโรคนี้ การรู้ถึงความเสี่ยง การย้อนกลับไปมองตัวเองว่าเรามีความเสี่ยงหรือเปล่า จากนั้นเราถึงจะไปพิจารณาพบแพทย์ เพื่อที่จะตรวจมวลกระดูก หรือคำนวณความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก


    การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

    ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนมี 2 แบบหลักๆ ได้แก่ การตรวจมวลกระดูก เราไปพบแพทย์ แพทย์จะส่งให้เราไปเข้าเครื่องตรวจมวลกระดูก เราจะได้รับรังสีเพียงเล็กน้อย จากนั้นจะตรวจมวลกระดูกออกมา แล้วคำนวณตามค่าเฉลี่ยของประชากร ถ้ามวลกระดูกของเราอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของประชากรถึงระดับหนึ่ง เราก็จะสามารถวินิจฉัยเป็นโรคกระดูกพรุนได้ และวิธีการคำนวณความเสี่ยงในการที่จะเกิดกระดูกหัก แพทย์จะถามประวัติคร่าวๆ แล้วจะคำนวณออกมา ความเสี่ยงนี้ชื่อว่า การคำนวณ frax score จะดูจากเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่และ

    ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคประจำตัว การกินยาสเตียรอยด์รวมถึงประวัติครอบครัวที่มีประวัติเป็นกระดูกพรุนความเสี่ยง frax score จะคำนวณออกมาได้ 2 แบบ คือ คำนวณเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก โดยทั่วไปในระยะ 10 ปี กับกระดูกหักบริเวณสะโพกในระยะ 10 ปี ถ้าค่าความเสี่ยง frax score ของกระดูกหักทั่วไปมากกว่า 20% ในระยะ 10 ปี หรือค่าความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสะโพกหักมากกว่า 3% ในระยะ 10 ปี ก็จะต้องได้รับการวินิจฉัยเป็นกระดูกพรุน และต้องได้รับการรักษา


    การรักษาโรคกระดูกพรุน

    ในส่วนการรักษา และการดูแลตัวเอง คุณหมอแนะว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรค เราต้องรักษา การรักษาก็จะเป็นการรักษาด้วยยา เพราะฉะนั้น การกินยา หรือบางท่านจะเลือกใช้วิธีฉีดยารักษาโรคกระดูกพรุน เราก็ควรจะไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและกินยาอย่างสม่ำเสมอ


    การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

    1. ระวังเรื่องพลัดตกหกล้ม เนื่องจากเราเป็นโรคกระดูกพรุน เราล้มนิดเดียวเราอาจจะกระดูกหักได้ กระดูกหักแล้วชีวิตเปลี่ยนเลย เพราะฉะนั้นเรื่องการระวังพลัดตกหกล้มนี่สำคัญ การจัดของที่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เรื่องของขั้นบันไดต่างๆ เราอาจจะต้องไปจัดระเบียบบ้าน

    2. เราอาจจะต้องหมั่นไปเจอแสงแดดเนื่องจากแสงแดดจะช่วยให้ร่างกายเราสังเคราะห์วิตามิน D ได้จากธรรมชาติ วิตามิน D จะช่วยให้แคลเซียมจากอาหารที่เรากินเข้าไปหรือจากอาหารเสริมที่เรากินเข้าไปดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น ข้อแนะนำคือ เราอาจจะต้องไปเจอแสงแดดวันหนึ่งประมาณสัก 15 นาที เป็นแดดอ่อนๆ อาจจะเลือกเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ อย่างน้อยวันละ 15 นาทีก็เพียงพอ

    3. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย การออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ ก็ต้องเป็นการออกกำลังกายที่มีน้ำหนักลงบริเวณข้อต่อต่างๆ เช่น การเดินเร็วๆ การวิ่งเหยาะๆ หรือการเต้นแอโรบิกสำหรับผู้สูงอายุจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ ทำให้มวลกระดูกแข็งแรงขึ้นนอกจากการออกกำลังกายจะช่วยเรื่องของมวลกระดูกแล้ว ยังจะช่วยให้กำลังกล้ามเนื้อมีสมรรถภาพที่ดี สมรรถภาพของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆ จะดี และช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มได้อีกทางหนึ่ง

    กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น อายุเยอะ บางคนมีปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อมบ้าง ข้อสะโพกมีปัญหา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท บางคนมีเรื่องโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอดโรคไตต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นข้อจำกัดในการออกกำลังกายทั้งสิ้น แนะนำว่า อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลในเรื่องของข้อจำกัดในการออกกำลังกายของเราว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนการออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :อ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี ศัลยแพทย์กระดูกและข้อสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

    ภาพ :iStock