“ถุงซีสต์แตก” เลือดออกในช่องท้อง อันตรายมากแค่ไหน?
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/3/16669/stomach-ache.jpg“ถุงซีสต์แตก” เลือดออกในช่องท้อง อันตรายมากแค่ไหน?

    “ถุงซีสต์แตก” เลือดออกในช่องท้อง อันตรายมากแค่ไหน?

    2019-10-04T21:39:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ซีสต์ที่เกิดขึ้นในร่างกายมีหลายตำแหน่ง และหลายประเภท ที่พบกันบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตร อาจจะเสี่ยงโรค หรือภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมดลูก และรังไข่มากกว่าคนที่เคยมีบุตรมาแล้ว และซีสต์เป็นหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในหญิงไทย หากพบก่อนรีบรักษาก่อนก็จะไม่เป็นปัญหาอะไรให้หนักใจมาก แต่หากปล่อยไว้จนซีสต์อักเสบบวม และแตกในช่องท้อง อาจอันตรายกว่าเดิมมาก

    >> "แก้มบุ๋ม" ถูกหามส่งโรงพยาบาลกะทันหัน ถุงซีสต์แตกเลือดออกในช่องท้อง
    >> ภัยอันตราย “ช็อกโกแลตซีสต์” ผู้หญิงเสี่ยงทุกคน ทุกวัย


    ซีสต์แบบ “ถุงน้ำ” อันตรายอย่างไรได้บ้าง?

    ส่วนใหญ่ ซีสต์ที่พบในส่วนของมดลูก ปีดมดลูก หรือรังไข่ จะเป็นถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่มีลักษณะเป็นถุงน้ำที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนเกิดเป็นถุงน้ำ

    หากเกิดถุงน้ำ จะสามารถพบอาการข้างเคียงได้หลายอย่าง ตั้งแต่ที่พบได้บ่อย คือ

    • ถุงน้ำบิดขั้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้นๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด

    • ถุงน้ำแตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้
    • เกิดอาการติดเชื้อจากถุงน้ำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง

    • มะเร็ง แม้ส่วนใหญ่จะถุงน้ำเดอร์มอยด์จะไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% โดยไม่จำเป็นต้องพบในคนอายุมากเท่านั้น เป็นมะเร็งที่พบในคนอายุน้อยได้ ซึ่งวิธีการตรวจให้ทราบได้นั้น คือการผ่าตัดเท่านั้น การอัลตราซาวนด์บอกได้เพียงว่ามีถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่


    การรักษาเมื่อพบซีสต์เดอร์มอยด์

    ตามปกติแล้วการรักษาเมื่อพบผู้ป่วยที่มีซีสต์ จะมีตั้งแต่ระยะแรกๆ ซีสต์ก้อนขนาดเล็ก 1-2 ก้อนที่แพทย์อาจยังขอตรวจดูอาการไปเรื่อยๆ หากเป็นซีสต์ชนิดอื่น เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ อาจมีการฉีดยาที่ทำให้ซีสต์มีขนาดเล็กลงได้ แต่สำหรับถุงน้ำเดอร์มอยด์ จำเป็นต้องผ่าตัดเท่านั้น

    • ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ ทำได้เฉพาะรังไข่ที่ยังไม่มีอาการเน่าจากการที่ถุงน้ำบิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยจะเป็นวิธีที่สูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่ยังอายุน้อย เพื่อการมีบุตรในอนาคตได้มากกว่า ดังนั้นการตรวจพบซีสต์เจอในระยะแรกๆ จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า

    • ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้นๆ ทำเมื่อถุงน้ำมีขนาดใหญ่ หรือเกิดภาวะรังไข่เน่าจากถุงน้ำที่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงจนรังไข่เน่า แต่สามารถผ่าตัดรังไข่ออกไปข้างเดียว ยังเหลืออีกข้างที่ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยมีประจำเดือน และมีบุตรได้ตามปกติ

    โดยการผ่าตัดถุงน้ำเดอร์มอยด์สามารภทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง และแบบผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก ที่ผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 5 - 10 มิลลิเมตร เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว ลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง ภาวะแทรกซ้อนต่ำ ลดการอักเสบติดเชื้อของแผลได้


    “ซีสต์แตก” ในช่องท้อง อันตรายมากแค่ไหน?

    ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองมีถุงน้ำอยู่ในบริเวณรังไข่ จนถุงน้ำอักเสบ บวมใหญ่ เกิดอาการรั่วหรือแตก ซึ่งในกรณีที่ถุงน้ำรังไข่แตกออก และมีเส้นเลือดฉีกขาด อาจทำให้ตกเลือดในช่องท้อง และมีโอกาสเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน

    แต่ระดับความอันตรายขึ้นอยู่ปริมาณการรั่วหรือแตกของถุงน้ำที่เกิดขึ้น หากรั่วเพียงปริมาณไม่มาก แพทย์อาจสังเกตอาการโดยให้พักที่โรงพยาบาล ถ้าอาการดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

    >> ซีสต์ กับเนื้องอก ต่างกันอย่างไร? แบบไหนอันตรายกว่ากัน?

    >> รู้ไว้ จะได้ไม่เป็น "ซีสต์ที่รังไข่"

    >> ปวดท้องประจำเดือนมากแค่ไหนถึงเสี่ยงเนื้องอก-ซีสต์?

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :รพ.พญาไท,รพ. เปาโล,รพ. กรุงเทพ

    ภาพ :iStock