คอกาแฟมีเฮ! เลือกดื่มถูกวิธี ก็ดีต่อสุขภาพได้

คอกาแฟมีเฮ! เลือกดื่มถูกวิธี ก็ดีต่อสุขภาพได้

คอกาแฟมีเฮ! เลือกดื่มถูกวิธี ก็ดีต่อสุขภาพได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คอกาแฟมีเฮ! เพราะถึงแม้กาแฟจะมีคาเฟอีนที่อาจทำให้ใครหลายๆ คน นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น หรือมีผลกระทบต่อผู้มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคประจำตัวอีกหลายๆ โรค แต่ถึงกระนั้นเราก็เข้าใจดีว่า สำหรับคนที่ติดกาแฟ การจะเลิกกินเด็ดขาดมันเป็นอะไรที่ลำบากมากๆ


ดังนั้น Sanook! Health จะมาแนะนำวิธีดื่มกาแฟ ไม่ให้เสียสุขภาพกันค่ะ รับรองอร่อย หอมกรุ่นเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมคือสุขภาพดีขึ้นด้วย

วิธีดื่มกาแฟให้ดีต่อสุขภาพ

1. เลือกเมล็ดกาแฟที่ดี มีคุณภาพ จะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาเขียวถึง 4 เท่า โดยเฉพาะกาแฟพันธุ์โรบัสต้า จะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า กาแฟพันธุ์อาราบิก้าถึง 2 เท่า

2. เลี่ยงกาแฟที่ใช้หม้อต้มแบบสไตล์สแกนดิเนเวีย เพราะจะมีสารไดเทอร์พีนสูง เพิ่มระดับคอเลสเทอรอลในเลือด ควรเลือกกาแฟสำเร็จรูปที่ละลายน้ำ หรือชนิดกรองหยด และเอสเพรสโซ ซึ่งจะมีผลน้อยกว่า

3. เลือกดื่มกาแฟดีแคฟ หรือกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน และหากเป็นไปได้ ควรเลือกชนิดที่ใช้ กระบวนการสกัดธรรมชาติ (Swiss Water Process)

4. เติมสิ่งนอกเหนือจากกาแฟกับน้ำร้อนให้น้อยที่สุด หรือไม่ใส่เลยได้ยิ่งดี เช่น ครีม นม น้ำตาล น้ำเชื่อม วิปครีม เพราะสิ่งที่เติมลงไปเท่ากับเพิ่มพลังงานให้กับกาแฟถ้วยน้ำด้วย

5. ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1-2 แก้ว หากดื่มมากกว่านั้น ปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายได้รับ จะส่งผลร้ายต่อระบบหัวใจ ความดัน และหลอดเลือด

6. ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น เพราะกาแฟมีสารขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น

7. อย่าดื่มกาแฟแทนอาหารเช้าทั้งมื้อ เพราะอย่างไรอาหารเช้าควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ และให้พลังงานที่เพียงพอ

8. อย่าดื่มกาแฟตอนเย็น หรือก่อนเข้านอน 6 ชั่วโมง เพราะหากทำให้ตาค้าง นอนไม่หลับ และอาจเป็นปัญหาระยะยาวในภายหลัง


ประโยชน์ของกาแฟ หากดื่มอย่างถูกวิธี

จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการ และโรคต่อไปนี้

- เบาหวาน

- นิ่วในถุงน้ำดี

- มะเร็งลำไส้ใหญ่

- พาร์กินสัน

- อันตรายจากตับ ในผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ

- อาหารหอบ จากผู้ป่วยหอบหืด

- เพิ่มความจำ

- เพิ่มความทน และอึดของร่างกาย

- แก้ง่วง โดยแนะนำให้ดื่มทีละน้อยๆ กระจายไปในแต่ละช่วงเวลาของวันแทน


อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ดื่มกาแฟได้ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวค่อนข้างรุนแรง เช่น หลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบ/พอง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน หรือโรคอื่นๆ และอยู่ในระหว่างการรักษากับคุณหมอ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอถึงการดื่มกาแฟ ว่าร่างกายสามารถรับได้มากน้อยแค่ไหน


ขอขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก herbdd.com
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook