ผลวิจัยชี้กระชายป้องกันฟันผุได้ แนะสูตรเด็ดแปรงฟัน 2-2-2

ผลวิจัยชี้กระชายป้องกันฟันผุได้ แนะสูตรเด็ดแปรงฟัน 2-2-2

ผลวิจัยชี้กระชายป้องกันฟันผุได้ แนะสูตรเด็ดแปรงฟัน 2-2-2
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายแพทย์สุริยะ วงศ์คงคาเทพ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า ไทยร้อยละ 70 มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ทั้งฟันผุและโรคปริทันต์ หากไม่รักษา นอกจากมีอาการปวดแล้ว เชื้อโรคจากเหงือกและฟันที่เป็นโรค อาจลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ ได้ ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ

ดังนั้นการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 กระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นที่การป้องกันฟันผุ โดยส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยใช้สูตร 2 : 2 : 2 คือ แปรงอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน เพื่อลดเชื้อคราบจุลินทรีย์สะสมในช่องปาก

เพราะหากไม่แปรงฟันจะทำให้คราบจุลินทรีย์สะสมหนาขึ้นเรื่อยๆ ช่องปากสกปรก มีภาวะเป็นกรด ไปกัดผิวฟัน ทำให้ฟันผุเร็วและเหงือกอักเสบ แปรงฟันให้ทั่วทุกซี่ทุกด้านนาน 2 นาที และไม่รับประทานอาหารหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะอาหารที่มีแป้งและน้ำตาล เนื่องจากจะทำให้คราบจุลินทรีย์ในปากเพิ่มขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว ทำให้ความเป็นกรดในปากเพิ่มขึ้น เป็นอันตรายต่อเหงือกและฟัน

สำหรับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯมีสมุนไพรไทยหลายชนิด ที่มีสรรพคุณดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุได้ผลดี โดยเฉพาะ กระชาย ผลการศึกษาวิจัยพบว่าในกระชายมีสารชื่อแพนดูราทิน เอ (Panduratin A) มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดคราบจุลินทรีย์ จากเชื้อ 4 ชนิดที่ทำให้เกิดฟันผุ เช่นสเตรปโตคอคัสมิวแตน (Streptococcus mutans) สเตรปโตคอคคัส แซงกินิส (Streptococcus sanguinis) ให้ผลเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน ลดการเกิดโรคปริทันต์ ลดเชื้อราในช่องปาก สามารถกำจัดเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแตน ภายใน 2 นาที นำมาใช้เป็นยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ช่วยลดกลิ่นปากได้ร้อยละ 70-90

พิสูจน์ผลด้วยเครื่องมือตรวจวัดลมหายใจ(Oral Chroma) ซึ่งเป็นเครื่องมือมีในประเทศไทยเพียง 2 แห่ง คือที่คณะทันตแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจังหวัดปราจีนบุรี และทำใช้ในครัวเรือนด้วยวิธีไม่ยุ่งยาก โดยใช้กระชาย 1 กำมือ โขลกให้ละเอียดและต้มกับน้ำ 1 ลิตร กรองน้ำและผสมเกลือ 1 หยิบมือ ต้มจนเกลือละลาย และนำมาอมหลังแปรงฟันไว้สักครู่ จึงค่อยบ้วนทิ้งหรือจะกลืนลงท้องก็ไม่มีอันตราย

นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรพื้นบ้านอีก 4 ชนิดที่แนะนำคือผักคาดหัวแหวน กานพลู มีสารสำคัญออกฤทธิ์เป็นยาชาบรรเทาอาการปวดฟัน ใช้ในกรณีฉุกเฉินเบื้องต้น โดยใช้ดอกของผักคาดหัวแหวนซึ่งมีลักษณะเป็นช่อสีเหลือง มาขยี้และอุดฟัน หรือนำดอกมาตำผสมเหล้าโรงเล็กน้อย และชุบสำลีอุดฟันจุดที่ปวด

นอกจากนี้ยังมีข่อย และต้นแก้ว ซึ่งปัจจุบันใช้ผสมในยาสีฟันและน้ำยาดับกลิ่นปาก ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook