หากกำลัง "ป่วย" อยู่ ควร "ออกกำลังกาย" หรือไม่ ?
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/3/17701/exercise.jpgหากกำลัง "ป่วย" อยู่ ควร "ออกกำลังกาย" หรือไม่ ?

    หากกำลัง "ป่วย" อยู่ ควร "ออกกำลังกาย" หรือไม่ ?

    2019-09-15T06:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    แพทย์ที่สมาคม American Heart Association แนะนำให้ออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้มีสุขภาพที่ดี

    หลายๆ คนออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยจะออกกำลังกายเพียงไม่กี่นาทีเป็นประจำทุกวันหรือวันเว้นวัน ดังนั้นการที่จะออกกำลังกายให้ได้ 150 นาทีนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับคนเหล่านี้

    แต่คำถามก็คือ จะทำอย่างไรในเวลาที่ป่วย ? หากคุณรู้สึกไม่สบายคุณควรออกกำลังกายตามปกติหรือไม่? การออกกำลังกายจะช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น หรือจะทำให้หายป่วยช้าลง ?

    ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตอบคำถามเหล่านี้รวมทั้งคำถามอื่น ๆ ไว้ บนเว็บไซต์ของ Mayo Clinic ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ที่ไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐฯ

    Edward R. Laskowski นายแพทย์ที่ Mayo Clinic ตั้งข้อสังเกตว่า การออกกำลังกายแบบไม่รุนแรงไปจนถึงปานกลางนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้หากเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา

    นายแพทย์ Laskowski และผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ มีเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการออกกำลังกายในเวลาที่ป่วย โดยอธิบายว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ปกติ หากมีอาการเจ็บป่วยที่อยู่เหนือลำคอขึ้นไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจรวมถึงน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม หรือเจ็บคอเล็กน้อย

    นายแพทย์ Laskowski กล่าวเสริมอีกว่า ที่จริงแล้วการออกกำลังกายอาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้นโดยจะเป็นการเปิดโพรงจมูก ให้หายคัดจมูกชั่วคราว และช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น

    WebMD ซึ่งเว็บไซต์สุขภาพของชาวอเมริกันก็ให้คำแนะนำที่คล้ายกันนี้

    Geralyn Coopersmith ผู้ฝึกสอนสมรรถภาพทางกาย ซึ่งเขียนหนังสือไว้หลายเล่มเกี่ยวกับการออกกำลังกายและโภชนาการ กล่าวว่ากฎทั่ว ๆ ไปคือหากมีอาการฟุดฟิดเพียงเล็กน้อย เมื่อทานยาและไม่รู้สึกป่วยมากจนเกินไป ก็สามารถออกกำลังกายได้

    อย่างไรก็ตามทั้ง Coopersmith และ นายแพทย์ Laskowski แนะนำให้หยุดพักจากการออกกำลังกายหากมีอาการเจ็บป่วยในบริเวณที่ต่ำกว่าลำคอลงมา เช่นมีอาการคัดหน้าอก ไอแบบรุนแรง หรือมีอาการปวดท้อง

    และก็ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถบอกได้ว่าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ได้แก่

    • ตัวร้อนผิดปกติ

    • รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างมากมาก หรือมีอาการอ่อนระโหยโรยแรง

    • ปวดกล้ามเนื้อในบริเวณกว้าง ๆ

    Coopersmith กล่าวเสริมอีกว่าหากมีอาการแน่นหน้าอก ไม่ควรออกกำลังกาย ทั้งนี้ทุกคนควรจะฟังเสียงจากร่างกายของตัวเอง หากรู้สึกแย่จริง ๆ ก็ควรหยุดพักให้ร่างกายได้พักผ่อน หรือให้ลดความเข้มข้นของการออกกำลังกาย เช่นให้ใช้วิธีการเดินออกกำลังกายแทนการวิ่ง และว่าการหยุดออกกำลังกายเพียงไม่กี่วันในเวลาที่ป่วย ไม่น่าส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพของร่างกายแต่อย่างใด เมื่อรู้สึกดีขึ้นแล้ว ก็สามารถออกกำลังกายแบบเข้มข้นตามเดิมได้

    อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ Laskowski เตือนว่าการออกกำลังกายในเวลาที่ป่วยมากกว่าการเป็นหวัดแบบธรรมดา อาจทำให้มีอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บมากขึ้นได้

    ขอขอบคุณ

    ภาพ :iStock