ผู้หญิงเสี่ยง "โรคอ้วน-อัลไซเมอร์-ซึมเศร้า" มากกว่าผู้ชายสองเท่า

ผู้หญิงเสี่ยง "โรคอ้วน-อัลไซเมอร์-ซึมเศร้า" มากกว่าผู้ชายสองเท่า

ผู้หญิงเสี่ยง "โรคอ้วน-อัลไซเมอร์-ซึมเศร้า" มากกว่าผู้ชายสองเท่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงยุคใหม่ในปัจจุบัน มีทั้งความเครียดและเร่งรีบจากสารพัดกิจกรรมที่อัดแน่นในแต่ละวันจากบทบาทที่หลากหลาย ทั้งต้องเป็นสาวเก่งในที่ทำงาน เป็นภรรยาและคุณแม่สุดตรอง แถมยังต้องดูแลรูปร่างหน้าตาให้เป๊ะอีก และเพราะความวุ่นวายจากภารกิจรายวันทำให้หลายคนอาจลืมดูแลสุขภาพไป จนบ่อยครั้งกว่าจะรู้ตัวก็ป่วยซะแล้ว

แต่สุขภาพที่ดีนอกจากเป็นความงามที่สะท้อนออกมาสู่ภายนอกแล้ว ร่างกายที่แข็งแรงยังเป็นต้นทุนให้เราออกไปใช้ชีวิตและทำบทบาทต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย เรามีข้อมูลดีๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และชะลอวัยชื่อดัง อย่างคุณหมอแอมป์ - นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ จาก บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ที่มาร่วมพูดคุยในงานเปิดตัวแคมเปญ “Women Empowered” สร้างแรงบันดาลใจ ชวนผู้หญิงใส่ใจสุขภาพ


ผู้หญิงเสี่ยง "โรคอ้วน-อัลไซเมอร์-ซึมเศร้า" มากกว่าผู้ชายสองเท่า 

“แม้จะมีรายงานระบุว่าอายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้หญิงอยู่ที่ 82 ปี ขณะที่ผู้ชายอยุ่ที่ 76 ปี แต่ในขณะเดียวกันผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆมากกว่าผู้ชายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะโรคในกลุ่ม  NCDs (Non-Communicable diseases) หรือ กลุ่มโรคไม่ติต่อเรื้อรัง ที่เป็นอัตราการอัตราการเสียชีวิตของคนไทยสูงถึง 75 % โดยในปัจจุบัน ประชากรไทยทั้งประเทศเป็นโรคอ้วนกว่า 35 % และผู้หญิงเป็นโรคอ้วนมากกว่าผู้ชายมากถึงสองเท่า นอกจากโรคอ้วนแล้ว ผู้หญิงยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะเครียดและซึมเศร้า ได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่าเช่นกัน รวมถึงมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย”


เคล็ดลับสุขภาพดี 4 ประการ

เพราะสุขภาพดีไม่มีทางลัด งานนี้คุณหมอแอมป์มีคำแนะนำเพื่อสุขภาพดีแบบสั้น ๆ ให้ทุกคนจำขึ้นใจและนำไปใช้จริง คือ  “กินก่อนหิว - นอนก่อนง่วง -ออกกำลังกายก่อนอ้วน และพักผ่อนก่อนป่วย” ที่สำคัญสาว ๆ อย่าลืมให้ความสำคัญในการตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองหรือตรวจโดยแพทย์ และหากอายุเกิน 40 ปี ควรตรวจด้วยวิธี แมมโมแกรม ซึ่งเป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมมากกว่า และ ตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่สามารถทำได้โดยวิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear) เพื่อหาการติดเชื้อไวรัส HPV นอกเหนือจากการตรวจแล้ว แนะนำว่าสาว ๆ ควรป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยการฉีดวัคซีนด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook