“สารคัดหลั่ง” คืออะไร ? ทำไมต้องตรวจเมื่อมีคดีต้องสงสัย “ข่มขืน”

“สารคัดหลั่ง” คืออะไร ? ทำไมต้องตรวจเมื่อมีคดีต้องสงสัย “ข่มขืน”

“สารคัดหลั่ง” คืออะไร ? ทำไมต้องตรวจเมื่อมีคดีต้องสงสัย “ข่มขืน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อใดก็ตามที่มีคดีที่อาจต้องสงสัยว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้น ฝ่ายแพทย์อาจมีการขอตรวจ “สารคัดหลั่ง” เพื่อพิสูจน์ว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่ใครที่อาจไม่ทราบว่าสารคัดหลั่งคืออะไร ทำไมต้องตรวจ แล้วเราพบอะไรในสารคัดหลั่งบ้าง Sanook! Health มีคำตอบจาก ผศ.พญ.สุภาวรรณ เศรษฐบรรจง ภาควิชานิติเวชศาสตร์ มาไขข้อสงสัยกัน

>> พบศพพริตตี้สาว "ลัลลาเบล" ในล็อบบี้โรงแรม ตายปริศนา

>> ผลชันสูตรศพ “ลันลาเบล” อย่างไม่เป็นทางการ พบช่องคลอดฉีกขาด


สารคัดหลั่ง คืออะไร ?

สารคัดหลั่ง หมายถึง คราบของเหลวต่าง ๆ ที่อาจพบได้ตามร่องรอยบนตัวของผู้เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นบนผิวหนัง เสื้อผ้า รวมถึงรอบ ๆ สถานที่เกิดเหตุ โดยสามารถใช้แสงอุลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet lamp) ส่องในห้องมืด จะทำให้มองเห็นบริเวณที่มีคราบติดอยู่ปรากฏชัดเจนได้


สารคัดหลั่ง มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?

สารคัดหลั่ง ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นคราบอสุจิ หรือน้ำอสุจิ ซึ่งเป็นน้ำหลั่งจากอวัยวะเพศชาย ที่สามารถระบุได้ว่าเกิดเหตุล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่ หากเพิ่งเกิดเหตุไม่นานอาจสามารถพบตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวอยู่ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วการตรวจตัวอสุจิอาจพบได้นานถึง 3 วัน แต่จากรายงานการวิจัยบางฉบับสามารถตรวจพบตัวอสุจิได้นานถึง 2 สัปดาห์

อสุจิจะมีทั้งส่วนหัว และส่วนหาง หากเป็นคราบอสุจิที่พบตัวอสุจิจริง ส่วนหัวอสุจิจะสามารถนำมาตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลได้

นอกจากการตรวจหาตัวอสุจิแล้ว สารคัดหลั่งที่พบอาจเป็นเพียงน้ำอสุจิ เพราะอาจมีบางกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นหมัน หรือผ่านการทำหมันแล้ว จึงต้องนำสารคัดหลั่งที่พบไปตรวจสอบทางเคมีเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นส่วนประกอบของน้ำอสุจิหรือไม่อีกครั้ง

สารประกอบที่พบได้ในน้ำอสุจิมีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นที่พบได้มาก คือ เอ็นไซม์แอซิดฟอสฟาเตส สารแสดงหมู่เลือด และสารอะศิดฟอสฟาเตสที่มาจากต่อมลูกหมาก


สารคัดหลังจากเยื่อบุช่องคลอด

นอกจากการตรวจหาสารคัดหลั่งของฝ่ายชายแล้ว สามารถตรวจเซลล์ของเยื่อบุช่องคลอดของฝ่ายหญิงจากบริเวณคอของอวัยวะเพศของฝ่ายชายได้เช่นกัน เซลล์ของเยื่อบุช่องคลอดนั้นส่วนหนึ่งจะมีลักษณะพิเศษคือมีสารที่เรียกว่า กลัยโคเจน อยู่ในเซลล์เป็นจำนวนมาก


เมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ ควรทำอย่างไร ?

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจะมีสติสัมปชัญญะมากพอที่จะดูแลทั้งสภาพร่างกาย และจิตใจของตัวเองให้ดีพอ แต่หากสามารถคงสภาพร่างกายตามเดิมหลังเกิดเหตุเอาไว้ได้ ก็จะช่วยให้ทีมแพทย์ตรวจร่างกาย และเก็บหลักฐานต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่ในขณะที่เกิดเหตุก็ควรเก็บไว้ในสภาพเดิมด้วยเช่นกัน

การตรวจหาตัวอสุจิในผู้เสียหาย พบว่า ส่วนใหญ่จะตรวจพบตัวอสุจิที่มีชีวิต (เคลื่อนไหว) ได้ประมาณภายใน 6 ชั่วโมงหลังการข่มขืน มีโอกาสพบได้ภายใน 12 ชั่วโมง และถ้าโชคดีมากอาจจะพบได้ถึง 24 ชั่วโมง (ในกรณีนี้มักต้องตรวจโดยการเก็บจากคอมดลูก)

ตัวอสุจิที่ตายแล้ว (ไม่เคลื่อนไหว) อาจพบได้ ภายใน 24 ชั่วโมง และถ้าโชคดีอาจพบได้ ภายใน 2-3 วัน และจะพบจำนวนน้อย (แพทย์ต้องตรวจโดยเก็บจากคอมดลูกเช่นกัน) ฉะนั้นการตรวจพบว่ามีตัวอสุจิที่ไม่เคลื่อนไหว ควรเชื่อว่าเกิดจากการร่วมเพศภายใน 1หรือ 2 วัน

ตามรายงานจากต่างประเทศ พบเฉพาะส่วนหัวของตัวอสุจิ (อสุจิที่สลายตัวแล้ว) ได้นานถึงภายใน 6 วันและสามารถตรวจพบตัวอสุจิจากคอมดลูก นานถึง 7 วันหลังการข่มขืน

การตรวจตัวอสุจิจากทวารหนักและช่องปากพบได้ยากกว่า และภายในเวลาที่สั้นกว่าด้วย

หากทีมแพทย์เล็งเห็นว่าผู้เสียหายมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำมาก จะแนะนำให้รักษาตัวที่โรงพยาบาลมากกว่าจะส่งกลับบ้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook