กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันโลหิตสูง” ?

กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันโลหิตสูง” ?

กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันโลหิตสูง” ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความดันโลหิตสูง มักเป็นโรคประจำของผู้ที่เริ่มมีอายุสูงขึ้น เนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น อาหารการกินที่ไม่สามารถกินได้ตามใจปากเหมือนสมัยก่อน การเผาผลาญพลังงานที่ลดลงจากกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันน้อยลง และโรคประจำต่าง ๆ รุมเร้า แต่หากสามารถปรับพฤติกรรมในการกินได้ ก็ช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้นได้มาก


กินอย่างไร ช่วยลด “ความดันโลหิตสูง” ?

  • กินปลา และถั่วต่าง ๆ ทั้งสด ทั้งแห้ง ให้มากขึ้น

  • ลิ้มรสหวานจากผักผลไม้สด แทนน้ำตาลสังเคราะห์ และขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ

  • ลดการปรุงรสอาหารลง ทั้งหวาน เค็ม เผ็ด

  • เลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต) แทนคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (ข้าวขาว ขนมปังขาว)

  • กินผลไม้ทั้งผล แทนการดื่มน้ำผลไม้

  • เลือกกินไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง แทนเนย น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ที่เป็นไขมันอิ่มตัว

  • เลือกกินอาหารที่ทำจากวัตถุดิบสดใหม่ หรือแช่แข็ง แทนอาหารกระป๋อง หรืออาหารสำเร็จรูป

  • เลือกกินอาหารโซเดียมต่ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้เครื่องเทศต่าง ๆ สมุนไพร น้ำส้มสายชู มะนาว และเครื่องปรุงอื่น ๆ แทนเกลือ น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง ซอสมะเขือเทศ ฯลฯ ที่มีโซเดียมสูง

  • กินอาหารที่ให้พลังงานสูงให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลของอาหารที่กิน กับการออกกำลังกายให้ดี

  • บันทึกอาหารที่กินในแต่ละวัน แล้วนำมาเช็กรายสัปดาห์ เช็กได้ด้วยตนเองว่าอะไรควร หรือไม่ควรกินในสัปดาห์ต่อไป หรือนำบันทึกอาหารไปปรึกษานักโภชนาการได้


หากไม่แน่ใจว่าจะสามารถรับประทานอาหารอย่างถูกหลักหรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่รักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือปรึกษานักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการได้เช่นกัน แล้วอย่าลืมหาเวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 3-5 วันใน 1 สัปดาห์ จะช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้นได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook