4 โรคที่ติดต่อจากผู้ใหญ่สู่เด็กได้จากการ “จับมือ-หอมแก้ม”

4 โรคที่ติดต่อจากผู้ใหญ่สู่เด็กได้จากการ “จับมือ-หอมแก้ม”

4 โรคที่ติดต่อจากผู้ใหญ่สู่เด็กได้จากการ “จับมือ-หอมแก้ม”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเอ็นดูเด็ก ๆ เพราะพวกเขาช่างน่ารักน่าชังจนอดใจจะเล่นด้วยไม่ได้ แต่การสัมผัสกับเด็กเล็กโดยไม่ทันระวังความสะอาดมากนัก อาจทำให้เด็กน้อยเหล่านี้ติดเชื้อโรคจนป่วยได้ง่าย เพราะสุขภาพของพวกเขายังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงมากพอเท่าผู้ใหญ่นั่นเอง

 
โรคที่ติดต่อจากผู้ใหญ่สู่เด็กได้จากการจับมือ-หอมแก้ม

  1.     โรค RSV

RSV หรือชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus คือ เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กเล็ก โดยเชื้อไวรัสอาจทำให้เป็นปอดอักเสบ ทำให้มีเสมหะมาก และทำให้เยื่อบุหลอดลม และทางเดินหายใจต่าง ๆ บวม จึงทำให้เด็กมีอาการเหนื่อยหอบ และหายใจลำบาก ทำให้มีการสร้างสารคัดหลั่ง อย่าง เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก ในเด็กที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคหัวใจ โรคปอด หรือโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดอาการที่หนักจนถึงขั้นหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

>> โรค RSV ติดเชื้อจากการหอมแก้มได้จริงหรือ ?

  1.     โรค มือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสที่แพร่เชื้อได้ง่ายในเขตร้อน และเขตอบอุ่น ระยะหลังๆมานี้ เริ่มพบโรคมือ เท้า ปาก กับเชื้อที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นที่ชื่อว่า EV71 ทำให้เด็กเล็กสมองอักเสบได้ ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยเป็นเด็กเล็ก เด็กทารกอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ปัจจุบันพบเด็กที่โตขึ้น และผู้ใหญ่บางคนเช่น พ่อแม่ ที่ดูแลลูกที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสนั่นเอง และเพียงแค่สัมผัสสารคัดหลั่งจากจมูก น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ หรือติดต่อทางอ้อมจากการสัมผัสของเล่น กินอาหารหรือน้ำดื่มก็ติดเชื้อได้แล้ว

>> “มือ เท้า ปาก” ภัยร้ายคุกคามเด็กเล็กช่วงฤดูฝน

  1.     โรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่เป็นอาการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัส influenza ที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยจะมีอาการไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และอ่อนเพลีย โดยทั่วไปลักษณะอาการค่อนข้างคล้ายไข้หวัดธรรมดา เพียงแต่อาจมีอาการหนักกว่า และยาวนานกว่า เช่น ไข้สูง และนานกว่า ปวดเมื่อยตามตัวมากกว่า อ่อนเพลียมากกว่า ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อกันจากการรับเชื้อไวรัสผ่านอาการไอ จาม พูด ลมหายใจ ของผู้ที่ติดเชื้อ รวมไปถึงน้ำลายจากการใช้ช้อน แก้ว เดียวกัน หรือแม้กระทั่งสัมผัสข้าวของที่ผู้ป่วยสัมผัส หลังจากใช้มือป้องปากเวลาจามหรือไอด้วย

>> ไข้หวัดใหญ่ มีสายพันธุ์อะไรบ้าง ป้องกันอย่างไร?

  1.     โรคทางเดินอาหาร

โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร หมายถึงการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจากแบคทีเรีย รองลงมาคือเชื้อไวรัสและปรสิต โดยมีอาการหลักคือ การปวดท้องที่อาจเกิดได้ที่ช่องท้อง ไม่มีอาการปวดเฉพาะจุด ร่วมกับอาการท้องเสีย มีไข้ได้ การรับเชื้อมักเกิดจากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด โดยเชื้อโรคที่อยู่ในตัวผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่ในน้ำ อาหาร และมือ เข้าสู่ปาก โดยเชื้ออาจติดอยู่ที่เครื่องมือเครื่องใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น ช้อน แก้วน้ำ จาน ชาม รวมถึงการสัมผัสกับอาหาร สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคด้วย

>> ภาวะ "ติดเชื้อทางเดินอาหาร" อาจอันตรายกว่าที่คิด

>> ทำไม? คนไทยเกือบทุกคนถึงเคย “ติดเชื้อทางเดินอาหาร”

 
การป้องกันลูกน้อยติดเชื้อโรคจากผู้ใหญ่

  1. งดหอมแก้ม จับแก้ม จับมือ หรืออุ้มเด็กที่ไม่ใช่ลูกของตัวเอง เพราะผู้ใหญ่อาจมีเชื้อไวรัสที่ยังไม่แสดงอาการไปติดต่อสู่เด็กได้

  2. หากต้องการสัมผัสหรือเล่นกับเด็ก ควรขออนุญาจผู้ปกครอง และล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

  3. ผู้ปกครองที่กลับมาจากที่ทำงาน ควรล้างมือให้สะอาดก่อนเข้าไปหาลูกทุกครั้ง

  4. เด็กในวัยที่ไปโรงเรียน หากกลับมาจากโรงเรียน ต้องอาบน้ำ ล้างมือ ก่อนไปเล่นกับน้อง หรือเด็กเล็กคนอื่นทุกครั้ง

  5. ไม่ควรพาเด็กเล็ก (อายุน้อยกว่า 6 เดือน) ไปที่ที่มีคนแออัด คนจำนวนมาก

  6. ในช่วงการระบาดของโรค ควรงดพาเด็กออกไปในที่ที่มีคนแออัด หรือพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือสนามเด็กเล่น เพราะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคที่อันตรายต่อสุขภาพได้ง่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook