"โรคพยาธิไชผิว" ภัยร้ายใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

"โรคพยาธิไชผิว" ภัยร้ายใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

"โรคพยาธิไชผิว" ภัยร้ายใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะโรคพยาธิไชผิวเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่นั่งเล่นบนพื้นดิน แนะประชาชนสวมรองเท้าเวลาเดินเสมอ หลีกเลี่ยงการนั่งหรือสัมผัสบนดินทรายที่อาจปนเปื้อนมูลสัตว์ ทำให้พยาธิไชเข้าผิวหนังได้


โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง เกิดจากสาเหตุใด ?

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีการเสนอข่าวเรื่องมีพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloidiasis) ไชเข้าผิวหนัง ผู้ที่เดินเท้าเปล่า แล้วไชทะลุผิวหนังคน เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้บุคคลนั้นป่วย บางคนอาการหนักเพราะลามไปอวัยวะสำคัญจนติดเชื้อถึงแก่ชีวิตได้นั้น โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อนที่ชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง โดยมักเกิดจากพยาธิปากขอที่พบในสัตว์หลายชนิด ที่พบบ่อยที่สุดคือ จากแมวและสุนัข จากวัว ควาย และพยาธิเส้นด้ายของสัตว์ 


พยาธิ พบได้ที่ไหน ?

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พยาธิตัวอ่อนในระยะติดต่อพบในดินที่ชื้นแฉะที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ และจะไชเข้าสู่ผิวหนังปกติ หรือผิวที่มีแผล ในคนที่เดินเท้าเปล่า หรือเด็กที่นั่งเล่นบนพื้นดิน หรือทรายบริเวณชายหาด


อาการของโรคพยาธิชานไชผิวหนัง

อาการของผู้ที่ถูกพยาธิไชผิว คือ ผื่นบริเวณมือ เท้าหรือก้นที่สัมผัสกับดินทรายโดยตรง เห็นเป็นเส้นนูน แดง หรือตุ่มน้ำใส ขนาดประมาณ 3 มม. และอาจยาวถึง 20 ซม. คดเคี้ยวไปมาตามการไชของพยาธิ  ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้วันละ 2-3 มิลลิเมตร ถึงหลายเซนติเมตร มีอาการคันมาก อาการทางผิวหนังมักจะเกิดใน 1-5 วันหลังสัมผัส และคงอยู่ได้นาน 2-14 สัปดาห์หรือนานเป็นปี อาการอื่น ๆ ที่อาจพบในผู้ป่วยบางราย เช่น อาการทางปอด เช่น ไอ หรือ ผื่นลมพิษ

สำหรับตัวจิ๊ดการเคลื่อนที่ตัวอ่อนของพยาธิจะอยู่ในผิวหนังชั้นลึกกว่า จึงทำให้เกิดอาการบวมแดง อักเสบและปวด ย้ายที่ไปมา ต่างกับกลุ่มพยาธิปากขอ เนื่องจากไม่ใช่ที่อยู่ของพยาธิเหล่านี้ ทำให้พยาธิไม่สามารถเติบโตเป็นตัวแก่ในคนได้ จึงไชอยู่ในผิวหนัง จนตายไปเอง หรือภูมิต้านทานของร่างกายมาจัดการหรือจากการรักษา


การรักษาโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การรักษาใช้ยาฆ่าพยาธิ ชนิด albendazole 400 มก.ต่อวัน นาน 3 วัน หรือ ivermectin รับประทานครั้งเดียว เป็นการรักษาที่ได้ผลดี เนื่องจากในประเทศไทยพบอัตราการเป็นโรคพยาธิปากขอสูงในแมวและสุนัข จึงมีโอกาสที่พยาธิปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ให้พยาธิไชเข้าร่างกาย จะต้องสวมรองเท้าเวลาเดินเสมอ และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือสัมผัสบนดิน ทราย ที่อาจมีการปนเปื้อนมูลสัตว์ และควรถ่ายพยาธิให้แมวและสุนัขเพื่อไม่ให้มีการแพร่ปรสิตสู่ดิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook