บริโภค “เครื่องดื่ม” อย่างไร ไม่ให้ “น้ำตาล” เกิน

บริโภค “เครื่องดื่ม” อย่างไร ไม่ให้ “น้ำตาล” เกิน

บริโภค “เครื่องดื่ม” อย่างไร ไม่ให้ “น้ำตาล” เกิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เครื่องดื่มน้ำตาลสูง หากดื่มมากเกินไป เสี่ยงอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และฟันผุ จึงควรควบคุมปริมาณที่ดื่มในแต่ละวันให้ดี

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การบริโภคน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่มที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา เช่น โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และฟันผุ เป็นต้น


ปริมาณน้ำตาลที่ควรกินในแต่ละวัน

ปริมาณน้ำตาลที่คนไทยได้รับส่วนใหญ่มาจากขนมและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล จากการศึกษาผลของการดำเนินมาตรการภาษีเครื่องดื่มรสหวานต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2562 พบว่าโดยเฉลี่ยในแต่ละวันคนไทยดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยกว่า 3 แก้ว (519.3 มิลลิลิตร) โดยผู้ชายดื่มมากกว่าผู้หญิง และพบว่าในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี เป็นกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยต่อสัปดาห์มากที่สุด เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลที่วางจำหน่ายในไทย พบมีปริมาณน้ำตาลสูงมากเฉลี่ย 9-19 กรัม/100 มิลลิลิตร ในขณะที่ปริมาณที่เหมาะสมคือ ไม่ควรมีน้ำตาลมากกว่า 6 กรัม/100 มล. เพราะจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ในระยะยาว


ผัก ผลไม้ ช่วยลดฟันผุจากเครื่องดื่ม และอาหารที่มีน้ำตาลสูงได้

ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผอ.สำนักทันตสาธารณสุข กล่าวว่า น้ำตาลเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรียในการผลิตกรดทำลายผิวฟัน จนลุกลามไปเรื่อย ๆ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยควรเน้นบริโภคผัก หรือผลไม้ที่มีเส้นใยเซลลูโลส เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งการเคี้ยวเส้นใยจะช่วยกระตุ้นให้มีน้ำลายมากขึ้น สามารถเจือจางสภาพความเป็นกรดได้เป็นอย่างดี รวมทั้งอาหารกลุ่มโปรตีน เช่น ถั่วต่าง ๆ นมที่มีแคลเซียมและฟอสเฟตสูง หากต้องการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล แนะนำให้สั่งสูตรหวานน้อย เพื่อลดปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน 

ทั้งนี้ เครื่องดื่มที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือ น้ำเปล่า


บริโภค “เครื่องดื่ม” อย่างไร ไม่ให้ “น้ำตาล” เกิน

  1. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัดมากเกินไป

  2. สั่งขอสูตรหวานน้อยกว่าปกติให้ติดปาก

  3. ไม่ดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน และไม่ควรดื่มทุกวัน หากติดเครื่องดื่มหวาน ๆ ควรค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากวันละแก้ว เป็นสัปดาห์ละ 3-4 แก้ว และค่อย ๆ ลดจนสามารถไม่กิน หรือไม่อยากกินมากเหมือนแต่ก่อนได้

  4. ดื่มน้ำเปล่าให้ติดเป็นนิสัย หากอยากได้กลิ่น หรือรสชาติ สามารถใส่มะนาว สตรอเบอร์รี่ ส้ม แอปเปิ้ล หรือผลไม้อื่น ๆ ลงในน้ำเปล่าได้

  5. เน้นกินโปรตีนไขมันต่ำ และผักผลไม้ให้มากขึ้น และลดแป้งไม่ขัดสีลง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว

  6. อย่าลืมออกกำลังกาย เพื่อเผาผลาญพลังงานที่ได้จากเครื่องดื่มที่กินเข้าไปด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook