ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีพระเอกหนุ่ม ปอ ทฤษฎี ซึ่งป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และมีภาวะแทรกซ้อนจนอาการทรุดหนัก ต้องรักษาตัวในห้อง CCU โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีความดันเลือดที่ควบคุมได้ยากจากภาวะติดเชื้อที่เท้าซ้าย จำเป็นต้องตัดขาซ้ายระดับเหนือข้อเท้า เพื่อควบคุมการติดเชื้อที่รุนแรง ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่าหากเป็นอย่างนี้แล้ว  ปอ ทฤษฎี  ยังจะเดินได้หรือไม่

ล่าสุด นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน ศัลยแพทย์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า ชีแจงประเด็นนี้ผ่านเพชบุุ๊ค หลอดเลือดฟอกไต 360 องศา หัวข้อ ติดเชื้อที่ขา...ทำไมต้องตัดขา? ไม่ตัดไม่ได้หรือ?

คงมีคำถามในใจของคนหลายๆคนในขณะนี้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อที่ขาแล้วต้องถึงขนาดตัดเท้าทิ้งเพื่อรักษาชีวิต

จริงๆแล้วภาวะนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในวงการแพทย์ครับ สามารถพบได้เรื่อยๆเช่นในผู้ป่วยที่เป็นแผลติดเชื้อเบาหวานรุนแรงจนต้องตัดขาถ้าไม่ตัดอาจเสียชีวิต หรือ คนไข้ในกลุ่ม ที่มีภาวะขาดเลือดรุนแรงที่ปลายเท้าเฉียบพลันจนมีปัญหาเนื้อตายและเน่าจนติดเชื้อ

ภาวะขาดเลือดรุนแรงพบในคนไข้กลุ่มไหน?
1.มีภาวะ Shock รุนแรงและยาวนาน
2.มีลิ่มเลือดจากหัวใจหลุดมาอุดเส้นเลือดปลายเท้า
3.ได้รับยากระตุ้นความดันนานๆ(เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจ)
4.เส้นเลือดหดตัวรุนแรงจากยาจำพวก ergotamine(ยาแก้ไมเกรน)
และยังมีภาวะอื่นๆอีกหลายอย่างที่สามารถทำให้ขาขาดเลือดได้

ขาขาดเลือดทุกคนต้องติดเชื้อหรือไม่?
ไม่จำเป็นครับ แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อและมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

แล้วถ้าไม่ตัดหล่ะ...ได้มั้ย?
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงครับถ้าการติดเชื้อไม่เข้าสู่กระแสเลือด การให้ยาปฎิชีวนะแล้วรอดูอาจทำได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง มีเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงอันนี้จำเป็นครับ

หลักการการรักษาก็คือ
"Safe life > Safe limb > Safe function"
รักษาชีวิตก่อน...รักษาแขนขา...รักษาแขนขาก่อน...รักษาการใช้งาน

แม้คำว่าตัดขาจะฟังดูร้ายแรงแต่ถ้ามองอีกมุมนึงว่ายังสามารถรักษาชีวิตไว้ได้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจสู้ต่อไปครับ

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

เป็นแค่ปลายเท้า...ต้องตัดเลยข้อเท้าเลยหรือ?
ตัดแค่ส่วนไปปลายเท้าก่อนจะได้มั้ย?
ตัดแล้วไม่ต้องตัดเพิ่มอีกแล้วใช่ไหม?

เป็นคำถามที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของแพทย์ศัลยกรรมครับ

ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?
ขึ้นกับพื้นฐานเดิมของผู้ป่วยครับและส่วนขาที่ถูกตัดออกไป
ถ้าปกติอายุมากเดินได้ลำบากอยู่แล้วอาจจะกลับมาเดินยากถ้าก่อนโดนตัดขาแข็งแรงดีโอกาสกลับมาเดินได้สูง
ยิ่งตัดน้อยก็มีโอกาสกลับมาเดินได้มากเพราะใช้พลังงานช่วยในการเดินเมื่อใช้ขาเทียมน้อย
เช่นตัดต่ำกว่าเข่าใช้แรงเพิ่ม 10 ถึง 40%
ตัดสูงกว่าเข่าใช้แรงเพิ่มถึง 60 ถึง 80%

ติดเชื้อที่ปลายเท้าต้องตัดถึงข้อเท้าเลยหรือ?
อันนี้บอกยากครับบางครั้งเห็นแผลที่นิ้วเท้านิดเดียวแต่พอผ่าตัดเข้าไปเนื้อข้างในติดเชื้อรุนแรงจำเป็นต้องตัดเพิ่มครับ

ตัดแค่ส่วนปลายเท้าก่อนได้ไหม?
ในกรณีที่มีการติดเชื้อไม่รุนแรงไม่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยเราอาจตัดเพียงเล็กน้อยรอดูอาการก่อนได้
แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดสูงขึ้นไปอีกเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะติดเชื้อโดนกำจัดไปมากที่สุดในขณะที่ต้องเหลือส่วนขาให้ยาวที่สุดไปพร้อมพร้อมกัน

ตัดแล้วไม่ต้องตัดเพิ่มแล้วใช่ไหม?
อันนี้ยังบอกไม่ได้ครับความมุ่งหวังของผู้รักษาคือไม่อยากต้องตัดเพิ่มอยู่แล้วแต่ก็คงต้องดูที่ผู้ป่วยเป็นหลักถ้ามีติดเชื้อเพิ่มเติมก็ต้องว่ากันไปตามอาการ

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน ศัลยแพทย์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า ชีแจงประเด็นนี้ผ่านเพชบุุ๊ค หลอดเลือดฟอกไต 360 องศา 

Credit ภาพ Rutherford's Vascular Surgery edition 8

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ ตัดขาแล้วจะเดินได้ไหม?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook