ภาวะ “มีโซโฟเนีย” รำคาญเสียงเคี้ยว หายใจ เดิน หรือแม้กระทั่งเข็มนาฬิกา

ภาวะ “มีโซโฟเนีย” รำคาญเสียงเคี้ยว หายใจ เดิน หรือแม้กระทั่งเข็มนาฬิกา

ภาวะ “มีโซโฟเนีย” รำคาญเสียงเคี้ยว หายใจ เดิน หรือแม้กระทั่งเข็มนาฬิกา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาวะมีโซโฟเนีย คืออาการเกลียดเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัว เมื่อได้ยินแล้วรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด อยากปิดหู ปิดเสียง หรือหนีให้ห่างจากต้นเสียงนั้น บางครั้งอาจมีอารมณ์โมโหขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว เป็นความผิดปกติของกลไกการทำงานของสมองส่วนหน้า หากรบกวนชีวิตมาก ๆ ควรพบแพทย์


ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาไม่สามารถนอนหลับได้เลยถ้าห้องไม่เงียบสนิทจริง ๆ ถึงขั้นต้องถอดถ่านไฟฉายออกจากนาฬิกาเพราะรำคาญเสียงเข็มนาฬิกาที่อยู่บนโต๊ะเรียนที่สุดปลายห้อง ได้ยินแล้วก็ได้แต่อึ้ง แต่หากก่อนหน้านี้เราเข้าใจภาวะ มีโซโฟเนีย เราอาจเข้าใจเพื่อนมากขึ้น


ภาวะมีโซโฟเนีย คืออะไร ?

ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) เป็นภาวะอาการที่หงุดหงิด รำคาญ หรือเกลียดเสียงที่เกิดขึ้นรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสียงเคี้ยวอาหารของคนข้าง ๆ เสียงช้องส้อมกระทบกัน เสียงเคี้ยวน้ำแข็ง กลืนน้ำกลืนอาหาร เสียงเท้ากระทบพื้น กดปากกา กดแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด เสียงคลิกเมาส์ ฯลฯ

แม้ว่าจะเป็นเสียงเบา ๆ ที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สามารถสร้างความรำคาญ และหงุดหงิดใจได้ โดยที่เสียงเหล่านี้กระตุ้นการตอบสนองที่เรียกว่า การตอบสนองโดยการเผชิญหน้า หรือหลบหนี ทำให้ผู้ที่มีอาการเกิดความรู้สึกด้านลบ มีอารมณ์ขุ่นเคือง รู้สึกหงุดหงิด จนถึงการแสดงอารมณ์โกรธเกรี้ยว หรืออยากหลีกหนีไปให้ไกลจากต้นเหตุของเสียง


ภาวะมีโซโฟเนีย เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เว็บไซต์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ให้ข้อมูลว่า การศึกษาเกี่ยวกับภาวะมีโซโฟเนียยังคงมีจำกัด ทีมงานนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษค้นพบว่า คนที่มีภาวะมีโซโฟเนียมีความผิดปกติเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมองในส่วนของสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) และสมองกลีบอินซูลาส่วนหน้า (Anterior insular cortex หรือ AIC) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์นั้นส่งผลให้ผู้ป่วยมีความไวต่อการตอบสนองต่อเสียงที่เฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “Trigger sound” เช่น เสียงลมหายใจ เคี้ยวอาหาร ซึ่งแตกต่างจากเสียงปกติ เช่น เสียงน้ำตก การจราจรบนถนน หรือเสียงเด็กร้องไห้

สมองส่วนกลีบอินซูลามีบทบาทสำคัญต่อการประมวลผลอารมณ์และควบคุมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่รับผิดชอบต่อความทรงจดระยะยาว ความกลัว และอารมณ์ต่าง ๆ คนที่มีภาวะมีโซโฟเนีย อาจมีความเป็นไปได้ว่าสมองส่วนนี้ทำงานมากกว่าคนอื่น

นอกจากความรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด หรือโมโหแล้ว เสียงเหล่านี้ยังอาจทำให้เกิดการตอบสนองทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือเหงื่อออกมากขึ้น เป็นต้น


วิธีแก้ไขภาวะมีโซโฟเนีย

หากมีอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถลองทำตามวิธีเหล่านี้ได้เองที่บ้าน

  1. ใส่หูฟัง แล้วฟังเพลงที่ตัวเองชอบกลบเสียงน่ารำคาญเหล่านั้น

  2. หลบไปอยู่ในที่สงบ

  3. ดึงสมาธิออกมาจากเสียงเหล่านั้น ด้วยเรื่องอื่น ๆ เช่น พูดคุยกับเพื่อน อ่านหนังสือ ฯลฯ

หากลองทำหลายวิธีแล้วยังไม่ได้ผล และรบกวนการดำรงชีวิตมาก ควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook