โรคเรียกร้องความสนใจ จาก “ออย Hormones” อันตรายกว่าที่คิด

โรคเรียกร้องความสนใจ จาก “ออย Hormones” อันตรายกว่าที่คิด

โรคเรียกร้องความสนใจ จาก “ออย Hormones” อันตรายกว่าที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระแสกำลังมาแรงสำหรับซีรี่ยส์วัยรุ่น Hormones ที่เป็นตอนของตัวละครชื่อ “ออย” ทั้งแกล้งทำเป็นลมชัก ทั้งโพสรูปตัวเองร้องไห้ลงในอินสตาแกรม และสุดท้ายกล้าแฉความลับเพื่อน เพื่อให้คนอื่นได้รับความอับอาย และให้คนรักของตัวเองเลิกสนใจคนๆ นั้น


อาการแบบนี้เราอาจจะเห็นในละครกันมาเยอะ แต่จริงๆ แล้วถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคจิตประเภทหนึ่ง ประเภท “เรียกร้องความสนใจ” นั่นเอง อาการเป็นอย่างไร แล้วคุณหรือคนรอบข้างกำลังเสี่ยงเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่ Sanook! Health นำมาให้อ่านกันค่ะ

โรคเรียกร้องความสนใจ

เป็นอาการทางจิตของคนที่ขาดความอบอุ่นจากคนรอบข้าง อาจจะเป็นทั้งคนที่บ้าน และคนรอบข้างจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่โรงเรียน ที่ทำงาน โดยมีอาการโหยหาความรัก อยากให้คนมารักตัวเอง อยากเป็นที่สนใจของคนอื่น รู้สึกดีเมื่อได้เป็นคนที่สำคัญของใครคนใดคนหนึ่ง และเกิดอาการไม่พอใจ อิจฉาริษยา เมื่อพบคนที่มีคนมารัก มารุมชอบมากๆ


สาเหตุของโรคเรียกร้องความสนใจ

ขาดความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้อง ประวัติในชีวิตอาจจะด่างพร้อย ไม่สมบูรณ์ จนทำให้เกิดความอิจฉาในชีวิตของคนอื่น

อาการของโรคเรียกร้องความสนใจ

บางคนอาจแสดงออกด้วยการพยายามทำตัวให้เด่นดังเหนือคนอื่น เป็นที่สนใจของคนอื่น หลงใหลได้ปลื้มกับชื่อเสียงของตัวเอง โดยไม่สนใจว่าจะได้มาด้วยวิธีการใด

บางคนอาจจะซุ่มเงียบ ไม่ทำตัวให้เป็นที่สนใจของคนในสังคมมากนัก แต่ในใจแอบเป็นคนขี้อิจฉา อิจฉาในความสุข ในความสำเร็จของคนอื่น อยากให้คนที่รักสนใจแต่ตนเองเพียงคนเดียว หวาดระแวงว่าจะไม่มีคนมารัก จนอาจทำร้ายคนอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความมั่นใจของตนเอง

บางครั้ง คนที่อยากเป็นที่สนใจของคนอื่น อาจยอมทำตัวให้คนอื่นเกลียด หันมาด่าทอต่อว่า มาคุยมาทะเลาะด้วย แกล้งคนอื่นไปทั่ว เพียงเพื่ออยากให้คนหันมาสนใจ และยอมรับการมีตัวตนของตัวเองในสังคมนั้นๆ เพราะในความเป็นจริงแล้วก่อนหน้านี้อาจไม่มีใครสนใจจะคุย ทัก หรือแม้กระทั่งจำหน้า จำชื่อได้ด้วยซ้ำไป

ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยที่เป็นโรคเรียกร้องความสนใจ

- ทำร้ายร่างกายตัวเอง

- ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น

- โกหกทุกเรื่อง หาความจริงไม่ได้

- ขี้ขโมย อยากได้ในสิ่งที่ตัวเองไม่มี

- กลั่นแกล้งผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นไม่มีความสุข สะใจที่เห็นคนอื่นเป็นทุกข์

เป็นต้น

วิธีปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคเรียกร้องความสนใจ

1. เมื่อไรก็ตามที่เขาเริ่มแสดงอาการเรียกร้องความสนใจ แล้วเรารู้ทัน อย่าให้ความสนใจกับเขาในช่วงนั้น จนเขาเลิกแสดงอาการนั้นๆ ไปเอง

2. หากเขาแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ ทำในสิ่งที่ดี โปรดให้กำลังใจเขา ชมเชยเขา เพื่อเติมเต็มในส่วนที่เขาขาดหาย นั่นคือความรัก ความเข้าใจ ความใส่ใจที่เขาอาจไม่ได้รับจากคนที่เขารักคนอื่นๆ

3. หากเขายังแสดงอาการเรียกร้องความสนใจมากยิ่งขึ้น จนอาจก่อเหตุร้าย ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ขอให้ค่อยๆ คุยกับเขา ให้คำปรึกษาแก่เขา ให้เขาพูดในที่สิ่งที่เขาคิดออกมาให้หมด เพราะโดยปกติคนพวกนี้มักไม่ค่อยยอมพูดเรื่องราวส่วนตัวในชีวิต ปัญหา หรือบาดแผลในชีวิต หรือรู้สึกผิดที่ต้องพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดให้คนอื่นรับรู้ เพราะกลัวว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจ และเกลียดตัวเองในที่สุด

4. หากอาการหนัก หรือไม่ดีขึ้น ควรแนะนำให้เขาเข้ารักษากับจิตแพทย์โดยตรง โดยไม่มองว่าเขาคือผู้ป่วยทางจิต ให้มองว่ามองหาคำปรึกษา คำแนะนำ เพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนคนอื่นๆ


หากคุณกำลังพบใครที่มีอาการเหมือนคนที่พยายามเรียกร้องความสนใจตลอดเวลา จงมอบความรักให้กับเขา เข้าใจเขา ให้คำปรึกษาเขา และอยู่เคียงข้างเขาทุกเมื่อที่เขาต้องการกำลังใจ รับรองว่าเขาจะไม่มีวันทำร้ายใคร รวมถึงตัวเขาเองอีกต่อไปค่ะ


ภาพประกอบจาก ซีรี่ยส์ Hormones วัยว้าวุ่น ซีซั่น 3

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook