ระวัง 10 เมนูฤดูร้อนเสี่ยง "อาหารเป็นพิษ"

ระวัง 10 เมนูฤดูร้อนเสี่ยง "อาหารเป็นพิษ"

ระวัง 10 เมนูฤดูร้อนเสี่ยง "อาหารเป็นพิษ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หน้าร้อนที่อากาศร้อนจัด อาหารบางเมนูเสี่ยงปนเปื้อนแบคทีเรีย และพยาธิที่มากับวัตถุดิบที่ไม่สะอาด จึงควรมีความระมัดระวัง ควรหลีกเลี่ยง หรือเลือกร้านที่น่าเชื่อถือในความสะอาด เพราะอาจเสี่ยงอาหารเป็นพิษได้


หน้าร้อน เสี่ยง "อาหารเป็นพิษ" มากกว่าปกติ

นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ตอนนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี และอาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ ส่งผลให้ประชาชนมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ

กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำให้ประชาชนระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษ โดยสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 มีนาคม 2563 มีรายงานผู้ป่วยจำนวน 17,757 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมา แรกเกิด-4 ปี และ อายุมากกว่า 65 ปี โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ สมุทรสงคราม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี มุกดาหาร และพิษณุโลก ตามลำดับ


สาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย และพยาธิ ที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่ปรุงไว้นานหรืออาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ และไม่ได้แช่เย็นหรือนำมาอุ่นให้ทั่วถึงก่อนรับประทาน ประกอบกับในช่วงนี้อากาศที่ร้อนขึ้น ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มจำนวนมากขึ้น


อาการของโรคอาหารเป็นพิษ

  • คลื่นไส้

  • พะอืดพะอม

  • อาเจียน

  • ปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ

  • ถ่ายอุจจาระ

  • ปวดหัว

  • คอแห้งกระหายนํ้า

  • อาจมีไข้ร่วมด้วย


10 เมนูฤดูร้อนเสี่ยง "อาหารเป็นพิษ"

สำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ 10 เมนู ได้แก่

  1. จ่อม/ลาบ/ก้อยดิบ

  2. อาหารทะเล

  3. อาหารประเภทยำ

  4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู

  5. อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด

  6. ขนมจีน

  7. ข้าวมันไก่

  8. ส้มตำ

  9. สลัดผัก

  10. น้ำแข็งที่ไม่สะอาดผลิตไม่ได้มาตรฐาน

ซึ่งเมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ ขอให้หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ นอกจากนี้ อาหารกล่องควรแยกกับข้าวออกจากข้าว ควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ และหากมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน


วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

ขอให้ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” ในการรักษาเบื้องต้น ให้จิบน้ำผสมสารละลายเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook