เตือน! น้ำแข็งกระสอบ เสี่ยงสารปนเปื้อน-ท้องร่วง

เตือน! น้ำแข็งกระสอบ เสี่ยงสารปนเปื้อน-ท้องร่วง

เตือน! น้ำแข็งกระสอบ เสี่ยงสารปนเปื้อน-ท้องร่วง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บ้านเราอากาศร้อนตลอดเวลาแบบนี้ หลายคนเลยเลือกที่จะสั่งน้ำดื่มเย็นๆ แช่น้ำแข็งมาดื่มให้ชื่นใจ ไม่ว่าจะน้ำอัดลม ชา กาแฟ ไปจนถึงน้ำผลไม้ปั่นต่างๆ ล้วนมีน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น แต่หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันมาว่า น้ำแข็งในบ้านเราไม่ค่อยสะอาด ทำให้ใครหลายคนท้องเสียท้องร่วงกันมานักต่อนักแล้ว โดยเฉพาะต่างชาติ


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าน้ำแข็งแบบไหนที่ปลอดภัย แบบไหนที่อันตราย เสี่ยงท้องเสียท้องร่วง Sanook! Health มีวิธีสังเกตง่ายๆ มาฝากค่ะ

ทำไมน้ำแข็งถึงอันตราย?

ปัจจุบันน้ำแข็งพบสารปนเปื้อน สิ่งแปลกปลอม ทั้งจากโรงงานที่ผลิต และระหว่างการขนส่ง เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำแข็งในบ้านเราบางแห่งยังไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นจึงพบว่าผู้บริโภคบางคน พบสิ่งแปลกปลอมในน้ำแข็ง หรือที่ร้ายกว่านั้น อาจจะพบเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าไปเพาะพันธุ์อยู่ในน้ำแข็งจากรอยรั่วของกระสอบน้ำแข็ง การลากกระสอบน้ำแข็งกับพื้น และร้านอาหารหลายร้านเลือกที่จะเอาน้ำแข็งมาแช่ของสด เช่น หมู ไก่ ผัก รวมไปถึงเต้าหู้ และอาหารอื่นๆ ก่อนที่จะนำน้ำแข็งในนั้นมาใส่แก้วเสิร์ฟเราที่โต๊ะ นี่ยังไม่รวมร้านอาหารข้างทางที่ให้ลุกไปตักน้ำแข็งฟรีนะ

น้ำแข็งชนิดไหน อันตราย ควรเลี่ยง?

น้ำแข็งที่พบการปนเปื้อนมากที่สุด หนีไม่พ้นน้ำแข็งป่นละเอียด ก้อนเล็กๆ ขนาดไม่ค่อยจะเท่ากัน น้ำแข็งแบบนี้ทำมาจากน้ำแข็งก้อนใหญ่ ที่เราอาจจะเคยเห็นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมใหญ่ๆ ที่นำมาใสน้ำแข็ง น้ำแข็งแบบนี้มีทั้งแบบซื้อจากแหล่งผลิต และน้ำแข็งทำเอง แต่แบบที่เสี่ยงการปนเปื้อนมากที่สุด เป็นน้ำแข็งป่นที่มาจากโรงงาน เพราะกระบวนการป่นน้ำแข็ง เครื่องจักร ใบมีด อุปกรณ์เหล่านี้มักไม่มีความสะอาดเพียงพอ อาจพบสนิม ตะไคร่ ฝุ่นผงต่างๆ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ได้ง่าย นอกจากนี้เมื่อป่นน้ำแข็งเสร็จ กระบวนการขนส่งในการขนใส่กระสอบพลาสติก มักพบว่ามีคราบ ดิน ฝุ่นผง และอื่นๆ เข้าไปปนเปื้อนในกระสอบ และน้ำแข็งป่นนี่แหละ ที่เหล่าแม่ค้าพ่อค้ามักนำมาแช่ของสดในตู้น้ำแข็ง

วิธีเลือกทานน้ำแข็ง ให้ปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อน


- เลือกทานน้ำแข็งที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด ไม่มีรอยรั่วให้อากาศ และสิ่งแปลกปลอมเข้าไปได้

- สังเกตที่ถุงบรรจุ เพื่อมองหาชื่อผลิตภัณฑ์

- เลขสาระบบอาหารในเครื่องหมาย อย.

- ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต

- น้ำหนักสุทธิ

- ข้อความตัวอักษรสีน้ำเงิน “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” 

แต่หากเป็นการเลือกทานน้ำแข็งที่ร้านอาหาร หลีกเลี่ยงน้ำแข็งป่นได้ก๋จะดีมาก น้ำแข็งหลอด น้ำแข็งยูนิต มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนน้อยกว่า แต่ถึงกระนั้นก็ต้องสังเกตภายในร้าน ตู้เก็บน้ำแข็ง กระติกใส่น้ำแข็ง กระสอบน้ำแข็งวางอยู่บนพื้นหรือไม่ เป็นต้น

ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook