คุณแม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 ทารกในครรภ์จะติดโรคไปด้วยไหม?

คุณแม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 ทารกในครรภ์จะติดโรคไปด้วยไหม?

คุณแม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 ทารกในครรภ์จะติดโรคไปด้วยไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ทำให้เกิดข้อสงสัยต่างๆ มากมาย เช่น สัตว์เลี้ยงสามารถติดโควิด-19 ได้ไหม? หน้ากากอนามัยป้องกันโควิด-19 ได้หรือเปล่า? ผู้ป่วยโรคนั้นโรคนี้จะเสี่ยงติดโควิด-19 มากกว่าคนกลุ่มอื่นไหม? และหรืออีกหนึ่งคำถามเกี่ยวกับโควิด-19 ที่เราเชื่อว่า ผู้ที่วางแผนมีลูก หรือคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ น่าจะอยากได้คำตอบมาก ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า “แม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 ลูกน้อยในครรภ์จะติดโรคนี้ด้วยหรือไม่” บทความนี้ของ Hello คุณหมอ จะช่วยคลายความสงสัยในเรื่องนี้ให้คุณเอง

แม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 ทารกในครรภ์จะติดโรคนี้ด้วยไหม

อย่างที่เราทราบกันดีว่า การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสหรือรับละอองฝอยหรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการไอจาม เด็กทารกในครรภ์จึงไม่มีความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าว

และในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สามารถแพร่จากแม่ตั้งครรภ์ที่ติดโควิด-19 ไปยังทารกในครรภ์ได้

อีกทั้งงานศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ชาวจีน จำนวน 9 คน ที่ติดโควิด-19 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ก็เผยว่า เมื่อนำตัวอย่างที่ได้จากน้ำคร่ำ เลือดจากรก หรือการตรวจป้ายคอ (throat swabs) เด็กทารกแรกเกิดไปตรวจ ไม่พบไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แต่อย่างใด

แต่ถึงแม้จะยังไม่มีการยืนยันว่า ทารกในครรภ์สามารถติดโควิด-19 ได้ แต่จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อจากไวรัสตระกูลโคโรนาสายพันธุ์อื่น อย่างโรคซาร์ส และโรคเมอร์ส ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ก็เผยว่า แม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด แต่ก็ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

ต้องคลอดลูกช่วงโควิด-19 ระบาด จะปลอดภัยไหม?

แม้จากการศึกษาวิจัยที่เรากล่าวถึงไปข้างต้นจะไม่พบว่ามีทารกแรกเกิดติดโควิด-19 แต่ก็มีผลการศึกษาวิจัยอีกชิ้นใน หญิงตั้งครรภ์ที่ติดโควิด-19 จำนวน 33 คน ที่พบว่า เด็กแรกเกิด 3 คนตรวจพบว่าติดโควิด-19 หรือมีสัญญาณของการติดเชื้อ แต่เนื่องจากการตรวจหาเชื้อดำเนินการหลังเด็กเกิดแล้วหลายวัน นักวิจัยจึงไม่สามารถระบุได้ว่าทารกติดเชื้อมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือติดเชื้อหลังคลอด

แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่า การติดโควิด-19 ส่วนใหญ่ที่พบ เกิดจากการสัมผัสละอองฝอยหรือสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ที่ติดเชื้อ หากเด็กแรกเกิดสัมผัสกับละอองฝอยหรือสารคัดหลั่งดังกล่าว ก็อาจทำให้ติดโควิด-19 ได้ แต่หากเด็กคลอดออกมาแล้ว ไม่ได้สัมผัสกับละอองฝอยหรือสารคัดหลั่ง โอกาสในการติดเชื้อก็แทบจะไม่มีเลย

อีกทั้งทางโรงพยาบาลก็มีมาตรการในการให้บริการและทำหัตถการที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งที่ติดโควิด-19 หรือไม่ได้ติดโควิด-19 จึงมั่นใจได้ว่า คุณจะสามารถคลอดลูกที่โรงพยาบาลได้โดยปลอดภัยทั้งแม่และลูกแน่นอน

ถ้าแม่ให้นมติดโควิด-19 ควรให้ลูกกินนมแม่หรือเปล่า

ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลบ่งชัดว่าโควิด-19 สามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางน้ำนมได้ แต่เนื่องจากการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ยังมีน้อย ฉะนั้นก็ยังยืนยันไม่ได้ว่า ทารกกินนมแม่ที่ติดโควิด-19 แล้วจะไม่เสี่ยงติดโควิด-19 เลย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี จึงแนะนำว่า แม่เพิ่งคลอดที่ติดโควิด-19 หรือสงสัยว่าตัวเองอาจติดโควิด-19 หลังคลอดลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินข้อดีข้อเสียของการก่อนให้ลูกกินนมแม่ และหากตัดสินใจแล้วว่าจะให้ลูกกินนมแม่ ก็ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับลูกน้อยของคุณ

สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที จากนั้นเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษทิชชู่ ก่อนสัมผัสตัวทารก หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินนมจากเต้า แต่ควรปั๊มนมเก็บไว้ แล้วให้ลูกกินนมแม่จากขวดนมแทน หากเป็นไปได้ อาจให้คนที่ไม่ติดโควิด-19 เป็นคนป้อนนมเด็ก แม่ตั้งครรภ์ไม่อยากติดโควิด-19 ควรดูแลตัวเองอย่างไร ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ หลังไอจาม ก่อนและหลังกินอาหาร หลังสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ในที่สาธารณะ หลังสัมผัสกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนป่วย โดยเฉพาะคนที่เป็นหวัด ไอจาม ไม่เอามือสัมผัสใบหน้า ดวงตา ปาก และจมูกของตัวเอง งดพบปะสังสรรค์ หรืออยู่ในที่คนพลุกพล่าน งดใช้บริการขนส่งสาธารณะในช่วงเวลาเร่งด่วนที่ผู้โดยสารหนาแน่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook