รู้ทัน "ผื่นกุหลาบ" โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน

รู้ทัน "ผื่นกุหลาบ" โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน

รู้ทัน "ผื่นกุหลาบ" โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เป็นโรคไม่ติดต่อที่มีอาการเฉียบพลัน สามารถหายเองได้ มักเกิดในวัยหนุ่มสาว  อายุ 10 ถึง 35 ปี พบไม่บ่อยในเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ 

โรคผื่นกุหลาบ คืออะไร?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผื่นกุหลาบเป็นโรคผิวหนังมีอาการเฉียบพลัน ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัด พบมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส ผื่นมีลักษณะเฉพาะ รูปร่างกลมหรือรี  มีการกระจายเป็นแนวตามร่องบนผิว คล้ายกับลักษณะของต้นสน โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดในคนอายุน้อย โดยเฉพาะช่วงอายุ 10-35 ปี พบได้ในทุกเชื้อชาติ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตรา 2:1 ผื่นมักเกิดอยู่นานประมาณ 6-8 สัปดาห์แล้วหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 5 เดือนหรือมากกว่า การวินิจฉัยแยกกับผื่นผิวหนังอักเสบอื่นๆ มีรายงานว่า การเกิดผื่นกุหลาบในผู้ป่วยตั้งครรภ์ เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งได้  โดยเฉพาะช่วง 15 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

อาการของโรคผื่นกุหลาบ

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผื่นแรกมักเกิดขึ้นบริเวณลำตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งอาจพบบริเวณคอ หรือ แขนขาส่วนบนได้ โดยมักจะเกิดนำผื่นอื่นๆ เป็นชั่วโมงหรือวัน

ลักษณะเป็นผื่นเป็นสีชมพู สีแซลมอน หรือสีน้ำตาล อาจจะมีขอบยกเล็กน้อย ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร แต่บางกรณีอาจมีขนาด 1 เซนติเมตร หรือใหญ่ถึง 10 เซนติเมตร ตรงกลางของผื่นมีขุยขนาดเล็ก ขอบขยายใหญ่ขึ้น ประมาณ 5% ของคนไข้มีอาการนำมาก่อน เช่น ปวดหัว มีไข้ ปวดข้อ และปวดเมื่อย อาจพบตุ่มหนองเล็กๆ ในช่วงแรกของโรค มักไม่พบผื่นบริเวณหน้า มือและเท้า อาการคันในโรคผื่นกุหลาบพบได้ประมาณ 25%   

วิธีรักษาโรคผื่นกุหลาบ

ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ผื่นกุหลาบมักไม่มีอาการแสดงและสามารถหายได้เอง โดยไม่ทิ้งร่องรอย การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก การใช้ครีมชุ่มชื้นผิวที่เหมาะสม ร่วมกับยาทาสเตียรอยด์ หรือ ยากินในกลุ่ม antihistamines สามารถช่วยลดอาการคันได้ แต่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรับประทานยาในกลุ่มสเตียรอยด์ช่วงสั้นๆ การฉายแสง UVB (Narrowband or broadband) สามารถช่วยควบคุมโรคได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook