สาเหตุ "ภาวะน้ำหนักเกิน" (โรคอ้วน) ที่ไม่ได้มาจากการ "กิน"

สาเหตุ "ภาวะน้ำหนักเกิน" (โรคอ้วน) ที่ไม่ได้มาจากการ "กิน"

สาเหตุ "ภาวะน้ำหนักเกิน" (โรคอ้วน) ที่ไม่ได้มาจากการ "กิน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาวะน้ำหนักเกิน และ โรคอ้วน เป็นภาวะทางสุขภาพที่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็งบางชนิด และยังกระทบต่อปัญหาทางกายภาพ เช่น มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือ โรคนอนกรน ข้อเข่าเสื่อม

รู้ได้อย่างไร ว่าเรากำลังเสี่ยง "ภาวะโรคอ้วน"

นพ.ชวภณ กิจหิรัญกุล (หมออาร์ต) และ พญ.อรกมล อินกองงาม (หมอออม) จาก DoctorVIP ระบุว่า ภาวะโรคอ้วน วินิจฉัยโดยใช้ดัชนีมวลกาย หรือ BMI คือ น้ำหนัก (กก.) ส่วนสูง (เมตร) 2 สำหรับคนเอเชีย หากมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 23 ถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน หากมากกว่า 25 เข้าสู่เกณฑ์โรคอ้วน แต่ BMI เองก็ไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง เนื่องจากคนที่ออกกำลังกายหนักๆ มวลกล้ามเนื้อเยอะ อาจมี BMI ที่เกินมาตรฐาน หรือคนที่ดูเหมือนจะผอมแต่จริงๆแล้วมีไขมันสะสมสูงมาก เราจึงอาจมีเครื่องมืออื่นเข้ามาช่วยวัด เช่น การวัดรอบเอว ค่าปกติในผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 ซม. และในผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม. อาจใช้เครื่องวัดส่วนมวลไขมันและกล้ามเนื้อที่เห็นบ่อยๆในฟิตเนสหรือโรงพยาบาล หรือถ้าต้องการความแม่นยำมากขึ้นก็อาจใช้เครื่อง DXA Scan ในการวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันซึ่งเป็นเครื่องเดียวกับที่ใช้ตรวจมวลกระดูก

สาเหตุ "ภาวะโรคอ้วน" ที่ไม่ได้มาจากการ "กิน"

ปัญหาโรคภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจัดเป็นโรคที่ควรได้รับการดูแลรักษา เพราะว่าไม่ได้มาจากพฤติกรรมทานอาหารมากไป หรือขี้เกียจออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว หลายคนอาจมีปัญหาจากฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ต่ำ หรือ มีภาวะถุงน้ำรังไข่ (PCOS) ส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกาย

ขั้นตอนในการดูแลรักษาภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

  1. ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยเริ่มต้นในสิ่งที่ตัวเองทำได้ง่ายก่อน
  • รับประทานอาหารแปรรูปน้อย เน้นโปรตีนและผักใบเขียว อาหารกลุ่มแป้งเน้นเป็นกลุ่มดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) เช่น ข้าวกล้อง ผลไม้ไม่หวานจัด

  • เริ่มตั้งเป้าหมายการออกกำลังกาย

  • เพิ่มการใช้พลังงานในกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินให้เยอะขึ้น ทำงานบ้านที่ใช้แรงเยอะๆ

  • ลดความเครียด และ ปรับคุณภาพการนอนให้ดี ถ้าไม่ปรับสองจุดนี้ การลดน้ำหนักก็จะไม่ค่อยสำเร็จ
  1. การใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ กรณีมีข้อบ่งชี้ เพื่อให้การลดน้ำหนักสำเร็จง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน

  2. การผ่าตัดกระเพาะอาหาร กรณีมีดัชนีมวลกายสูงมากและมีโรคร่วม

หลายคนเมื่อมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว อาจจะพยายามลองลดด้วยตัวเองแล้วไม่ค่อยสำเร็จ แล้วคิดว่าเป็นเพราะพฤติกรรมของตัวเองอย่างเดียว แต่จริงๆแล้วอาจมีปัญหาอย่างอื่นซ่อนอยู่ก็ได้ จึงอยากสนับสนุนคนไข้ที่มีความคิดในการลดน้ำหนัก เข้าไปปรึกษาแพทย์หาสาเหตุ และรับฟังทางเลือกในการลดน้ำหนักที่หลากหลายและปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook