อันตรายแฝง จากการกินอาหาร “อุ่นไมโครเวฟ”

อันตรายแฝง จากการกินอาหาร “อุ่นไมโครเวฟ”

อันตรายแฝง จากการกินอาหาร “อุ่นไมโครเวฟ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไมโครเวฟ ไม่ทำให้อาหารเป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด แต่การกินอาหารที่อุ่นด้วยไมโครเวฟก็มีอันตรายแฝงที่คุณอาจไม่รู้ Sanook Health มีข้อมูลจาก เภสัชกรหญิง ณัฐธิชา สุปารา ประจำ อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาฝากกัน

การทำงานของคลื่นไมโครเวฟในการอุ่นอาหาร

คลื่นไมโครเวฟจะทำให้น้ำอยู่ในอาหารเกิดการสั่นสะเทือน จนเกิดความร้อน และเดือด จึงทำให้อาหารอุ่นหรือร้อนได้ กระบวนการนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใดๆ ในอาหารเลย จึงทำให้การใช้ไมโครเวฟอุ่นอาหาร ไม่ทำให้เกิดอันตรายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

กินอาหารเวฟบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

การกินอาหารแช่แข็ง หรือการอุ่นอาหารซ้ำด้วยไมโครเวฟ ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อสุขภาพ เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟสามารถอุ่นอาหารได้โดยทิ้งสสารใดๆ หลงเหลือไว้ในอาหาร ไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อผู้บริโภค และในส่วนของอาหารแช่แข็งเองก็ใส่บรรจุภัณฑ์มาเพื่อให้สามารถใช้อุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟได้อยู่แล้ว (แต่ต้องสังเกตสัญญาณข้างบรรจุภัณฑ์ให้ดีด้วยว่า เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ และควรใช้อุ่นอาหารเพียงครั้งเดียวเท่านั้น) ดังนั้นการรับประทานอาหารแช่แข็ง หรืออาหารทั่วไปโดยการอุ่นให้ร้อนด้วยไมโครเวฟบ่อยๆ จึงไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย

อันตรายแฝง จากการกินอาหาร “อุ่นไมโครเวฟ”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวบรรจุภัณฑ์ และความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟจะไม่ได้ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟเพื่อรับประทานยังมีอันตรายแฝงที่คุณอาจคาดไม่ถึงอยู่

เริ่มกันที่ อาหารแช่แข็ง จะต้องถูกเก็บอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม หากเก็บรักษาอาหารแช่แข็งนี้เอาไว้ในที่ที่ไม่เย็นมากพอ แล้วนำอาหารนั้นมาอุ่นรับประทานผ่านไมโครเวฟที่อาจใช้ความร้อนไม่มากพอด้วย อาจมีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อจุลินทรีย์เติบโต และไม่ได้ถูกฆ่าให้ตายด้วยความร้อนมากเพียงพอ ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงได้

สำหรับการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ ควรระมัดระวังภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ในการใช้กับไมโครเวฟให้ดี ควรเลือกใช้ภาชนะกระเบื้องที่สภาพสมบูรณ์ไม่มีรอยแตกบิ่น และภาชนะพลาสติกที่ทำเพื่อนำเข้าไมโครเวฟได้โดยตรง สังเกตสัญญาณบนบรรจุภัณฑ์ทุกครั้งก่อนนำเข้าไมโครเวฟ ไม่นำภาชนะที่ทำจากพลาสติกที่ไม่ได้มีเครื่องหมายกำกับว่าใช้กับไมโครเวฟได้ ภาชนะแก้วที่ไม่ทนความร้อนสูง โลหะ กระดาษฟอยล์ เซรามิก เมลามีน กล่องโฟม จานกระเบื้องที่เคลือบสีเงินหรือทอง

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารแช่แข็ง ควรสังเกตข้อมูลในฉลากให้ดี ตรวจสอบปริมาณน้ำตาล ไขมัน โซเดียม เพราะอาหารแช่แข็งอาจมีปริมาณโซเดียมสูง หากรับประทานอาหารแช่แข็งในวันเดียวกันหลายครั้ง อาจหมายถึงการรับโซเดียมเข้าร่างกายมากเกินความจำเป็น ส่งผลอันตรายต่อร่างกายในแง่ของการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคไต ได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารแช่แข็งอุ่นไมโครเวฟในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook