อันตรายจาก "โรคหลอดเลือดสมอง" (Stroke) สาเหตุ และวิธีป้องกัน

อันตรายจาก "โรคหลอดเลือดสมอง" (Stroke) สาเหตุ และวิธีป้องกัน

อันตรายจาก "โรคหลอดเลือดสมอง" (Stroke) สาเหตุ และวิธีป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แม้ว่าจะเป็นโรคที่อันตรายและพบบ่อยในไทย แต่สามารถป้องกันได้

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คืออะไร?

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้น แล้วเรารู้จักโรคนี้มากน้อยแค่ไหน พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จึงได้มาให้ข้อมูลเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ว่า โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือด จากการตีบ อุดตันของหลอดเลือดสมอง หรือหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดความพิการ หรืออันตรายถึงชีวิตได้ อาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบ หรือมีลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด หรือหลอดเลือดเปราะบาง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการแตกได้ง่าย

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจาก

  • อายุ โดยอายุที่มากขึ้น ความเสื่อมของหลอดเลือดก็เพิ่มไปตามวัย
  • เพศ โดยเพศชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่า เพศหญิง
  • พฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เบาหวาน เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อเราทราบสาเหตุแล้วก็พิจารณาปรับเปลี่ยนตามปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ซึ่งอายุและเพศเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้  แต่ปัจจัยอื่นเราสามารถปรับได้ ได้แก่

  • ปรับพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรมีการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เพื่อเสริมความแข็งแรงของหัวใจและปอด เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  • พบแพทย์สม่ำเสมอเพื่อรักษาโรคประจำตัวให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยให้มีดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 kg/m2

สามารถคำนวณได้โดย

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง (เมตร)²

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค หลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัด มีน้ำตาลสูง หลีกเลี่ยงอาหารทอด มันจัด และเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด ผ่านกระบวนการแปรรูป ผ่านการปรุงแต่งมาก อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เน้นการรับประทานรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียด เพื่อคัดกรองความเสี่ยงและเฝ้าระวังตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนที่จะแสดงอาการ โดยเฉพาะการตรวจสมองและหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI and MRA Brain) ซึ่งจะช่วยคัดกรองความเสี่ยง และตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook