รู้จักภาวะ ISRR ความเครียดหลังรับ “วัคซีนโควิด-19” สาเหตุอาการชา-อ่อนแรง

รู้จักภาวะ ISRR ความเครียดหลังรับ “วัคซีนโควิด-19” สาเหตุอาการชา-อ่อนแรง

รู้จักภาวะ ISRR ความเครียดหลังรับ “วัคซีนโควิด-19” สาเหตุอาการชา-อ่อนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากอาการ Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมองที่อาจพบได้ในผู้รับวัคซีนโควิด-19 บางคนแล้ว หากผู้รับวัคซีนมีความเครียดสูง อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หลังรับวัคซีนได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง WHO หรือองค์การอนามัยโลกระบุภาวะนี้ว่า Immunization Stress-Related Response (ISRR)

รู้จัก ISRR ภาวะเครียดหลังรับวัคซีน

ศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาการไม่พึงประสงค์ แบ่งออกเป็นเฉพาะที่ และเป็นระบบ บางคนมีไข้ต่ำๆ มีอาการอ่อนเพลีย ง่วง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ แต่ปฏิกิริยาที่เป็นข่าวและทำให้หลายๆ ท่านกังวลใจ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเครียดตอบสนองต่อการฉีดวัคซีน หรือที่เรียกว่า Immunization Stress Related Response หรือ ISRR ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน คนบางคนเมื่อมีความเครียดในการฉีดวัคซีน ก็จะกระตุ้นระบบภายในร่างกาย ระบบสำคัญจะเกี่ยวข้องกับ Stress ฮอร์โมนทั้งหลาย กระตุ้นระบบประสาท ทำให้หลอดเลือดมีการหดตัว ซึ่งผู้รับวัคซีนไม่ได้แกล้งทำ เหมือนกรณีบางคนพูดในที่สาธารณะเป็นลมก็มี

สาเหตุของภาวะ ISRR

ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้รับวัคซีนอยู่ในภาวะ ISRR อาจมาจากภาวะเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ไปจนถึงอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนเข้ารับวัคซีน

อาการ ISRR ที่พบได้หลังฉีดวัคซีน

อาการ ISRR อาจเกิดขึ้นได้หลังรับวัคซีนได้ 5-30 นาที และอาจเป็นชั่วคราวหรือหายได้เป็นปกติภายใน 1-3 วัน มักเกิดเป็นกลุ่มก้อน และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัคซีน และทุกรุ่นการผลิต

อาการ ISRR ที่อาจพบได้มีหลากหลายแบบ ดังนี้

  • ชา
  • อ่อนแรง
  • คลื่นไส้
  • วิงเวียน
  • เป็นลม
  • ตาพร่ามัว
  • พูดไม่ชัด
  • เกร็ง

เป็นต้น

ISRR หรือ Stroke?

ในกรณีที่ผู้รับวัคซีนมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว อาจต้องให้แพทย์ตรวจเช็กอย่างละเอียดว่าเป็นอาการ ISRR ความเครียดหลังรับวัคซีน หรือเป็น Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง ในบางรายมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง แต่ไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดสมองจริงๆ เมื่อเข้ารับการตรวจเอกซ์เรย์ หรือ MRI สมอง และการตรวจอื่นๆ พบว่า ปกติ

ในช่วงที่มีอาการแรกๆ อาจยังแยกไม่ได้ว่าเป็นภาวะ ISRR หรือเป็นอาการเจ็บป่วยเป็นโรคจริง หากแพทย์พบความผิดปกติ อาการตรงกับโรคหลอดเลือดสมอง จะให้การรักษาตามระบบบริการทางด่วนของโรคหลอดเลือดสมอง หากไม่พบความผิดปกติ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น และหายได้เอง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวคหรือไม่?

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรได้รับวัคซีน และกินยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด โดยผู้ป่วยโรคนี้ไม่เป็นข้อห้ามของการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด

ถ้ามีอาการ ISRR ในเข็มแรก ควรฉีดเข็มที่ 2 หรือไม่?

แพทย์จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ว่าควรฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือไม่ หากมีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ สามารถรับวัคซีนชนิดเดิมเป็นเข็มที่ 2 ได้ หรืออาจพิจารณาเปลี่ยนชนิดวัคซีน หรือเลื่อนการฉีดวัคซีนครั้งต่อไปออกไปก่อนได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook