“โควิด-19” กับคำถามพบบ่อย การติดต่อ อันตราย และวิธีป้องกัน

“โควิด-19” กับคำถามพบบ่อย การติดต่อ อันตราย และวิธีป้องกัน

“โควิด-19” กับคำถามพบบ่อย การติดต่อ อันตราย และวิธีป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุคำถามที่ผู้ป่วยสอบถามกันเข้ามาบ่อยๆ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 คือ ไวรัสโควิด-19 ติดได้อย่างไร เชื้อไวรัสอยู่ได้นานแค่ไหน และวิธีการป้องกัน

นายแพทย์ธนีย์  ธนียวัน (หมอแทน) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดและเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า แม้ว่าเราจะยังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19  ซึ่งร่วมๆ 2 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีคำถามจากผู้ป่วยเข้ามาบ่อยๆ ว่า ไวรัสโควิด-19 ติดได้อย่างไร และเชื้ออยู่ได้นานแค่ไหน ซึ่งทางการแพทย์คำถามเหล่านี้สามารถให้คำตอบได้ดังนี้

ไวรัสโควิด-19 ติดต่อกันได้อย่างไร

  1. การสัมผัสเชื้อไวรัสโดยตรงที่ติดมาทางมือเมื่อเราไปสัมผัสวัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ ธนบัตร โต๊ะ เก้าอี้ ประตู หรือสิ่งของอื่นๆ แล้วมีเชื้อไวรัสติดมาที่มือด้วยทำให้มีโอกาสเข้าไปในช่องปาก ตา หรือจมูกได้ ซึ่งจะทำให้ติดเชื้อ
  2. ติดเชื้อไวรัสโดยการหายใจเอาละอองฝอยจากผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งจากการไอ จาม พูดเสียงดัง โดยอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย อาจจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะเชื้อโรคสามารถกระจายไปไกลในรัศมี 2 เมตร หรือประมาณ 6 ฟุต  

เชื้อไวรัส อยู่ได้นานแค่ไหน?

ละอองฝอยอีกชนิดนึงที่หลายคนกังวล คือละอองฝอยที่ละเอียดเล็กลงไปอีก หรือที่เรียกว่า Airborne particle ซึ่งสามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นชั่วโมง และมีการกระจายไปได้ไกลกว่า 2 เมตร รวมทั้งหน้ากากปกติไม่สามารถป้องกันการติดโดยวิธีนี้ได้ ทำให้การติดเชื้อเป็นไปได้ง่าย แม้ผู้ป่วยจะไม่ได้อยู่บริเวณนั้นตลอดเวลา 

แต่เนื่องจากเชื้อยังลอยอยู่ในอากาศก็สามารถทำให้ผู้ที่ผ่านมามีโอกาสสูดดมเชื้อเข้าไปได้ อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาแล้วพบว่า Airborne ไม่ใช่สาเหตุหลักในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน แต่ก็มีบางสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิด Airborne particle ได้ เช่น อยู่ในสถานที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น ห้องประชุม สถาบันบันเทิง งานเลี้ยงสังสรรค์ หรือมีผู้ป่วยบริเวณนั้นอยู่เป็นเวลานานๆ มีการไอ จาม หรือส่งเสียงดัง ร้องเพลง ตะโกน เป็นต้น สำหรับตัวอย่างเชื้อที่ติดต่อได้ทาง Airborne คือ เชื้ออีสุกอีใส โรคหัด เชื้อวัณโรค 

เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วไปได้นาน 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับพื้นผิววัสดุแต่ละชนิด ไวรัสโควิด-19 ไม่ชอบพวกวัสดุที่เป็นทองแดง โดยจะอยู่ได้ 4 ชั่วโมงก็ตายไป ถ้าเป็นประเภทกล่องกระดาษ ไวรัสจะอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง พสาสติกอยู่ได้นานประมาณ 3-4 วัน 

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าสิ่งใดมีเชื้อติดอยู่บ้าง และอยู่มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ดังนั้นเราควรทำความสะอาดมือสม่ำเสมอโดยการใช้เจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่ โดยเฉพาะก่อนที่จะสัมผัสบริเวณหน้าของตัวเอง หรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนี้มีบางท่านใช้สเปรย์ทำความสะอาดพ่นฆ่าเชื้อในที่ต่างๆ ทั้งที่นอน หมอน สิ่งของเครื่องใช้ หรือพ่นตามห้องต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องดูด้วยว่าเมื่อพ่นสเปรย์ไปแล้วอากาศต้องถ่ายเทสะดวกเพราะหากเราสูดดมสเปรย์เข้าไปก็มีโอกาสจะไปทำให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจ โรคหอบหืดกำเริบ หรือปอดอักเสบได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคปอด หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ดังนั้นจึงควรจะรอให้สเปรย์ระเหยออกไปก่อนที่เราจะเข้าไปในบริเวณนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง

เชื้อไวรัสโควิด-19 ทนความร้อนได้หรือไม่?

อีกคำถามที่คนถามเข้ามาบ่อย คือ เชื้อไวรัสโควิด-19 ทนความร้อนได้นานแค่ไหน ไวรัสโควิด-19 จะตายง่ายหากเจอแสง UV หรือเจออุณหภูมิสูง หากเชื้อเจออุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-5 นาที เชื้อก็จะตายแล้ว อย่างไรก็ดี การดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ นั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ และยังอาจเป็นอันตรายอีกด้วย ส่วนใครที่ชอบใส่ถุงมือไปช้อปปิ้ง วิธีนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะถุงมือก็เปรอะเปื้อนได้ ทางที่ดีควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ ดีกว่า

นอกจากนี้เราควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อออกนอกบ้าน ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะสามารถที่จะป้องกันการรับเชื้อเข้ามาแล้วยังสามารถป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นหากว่าบังเอิญเรามีเชื้ออยู่โดยไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดง โดยเราพบว่าประมาณ 30-35 % ของผู้ติดเชื้ออาจมีอาการน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มากพอสมควร และถ้าคนเหล่านี้เดินทางไปไหนต่อไหนก็อาจจะแพร่เชื้อไปได้โดยไม่รู้ตัวได้ นอกจากนี้หากว่าเราตรวจพบเชื้อไวรัสเป็นบวกเราควรจะกักตัว 14 วัน ตามคำแนะนำของแพทย์ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook