โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร วัคซีนป้องกันได้หรือไม่?

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร วัคซีนป้องกันได้หรือไม่?

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร วัคซีนป้องกันได้หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากคำเรียกชื่อสายพันธ์ุของเชื้อโควิด-19 ที่เราเคยเห็นเรียกกันตามชื่อประเทศที่พบสายพันธุ์นั้นๆ ครั้งแรกแล้ว เรายังมีการเรียกชื่อสายพันธุ์ว่าอัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า อีกด้วย

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนชื่อในการเรียกสายพันธุ์โควิด-19 จากชื่อประเทศที่พบเชื้อโควิดครั้งแรก เป็นระบบตัวอักษรภาษากรีก เช่น อัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า เพื่อลดการตีตราประเทศนั้นๆ

โดยมีการบัญญัติชื่อเรียกสายพันธุ์โควิดใหม่ ดังนี้

  • สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) คือ สายพันธุ์อัลฟ่า (A)
  • สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) คือ สายพันธุ์เบต้า (B)
  • สายพันธุ์บราซิล (P.1) คือ สายพันธุ์แกมมา (Γ)
  • สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) คือ สายพันธุ์เดลต้า (Δ)

รวมไปสายพันธุ์อื่นๆ ที่เริ่มเป็นที่จับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ก็เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อด้วยเช่นกัน ดังนี้

  • สายพันธุ์สหรัฐฯ (B.1.427/429) คือ สายพันธุ์เอปไซลอน (Ε)
  • สายพันธุ์บราซิล (P.2) คือ สายพันธุ์ซีตา (Z)
  • สายพันธุ์ที่พบในหลายประเทศ (B.1.525) คือ สายพันธุ์อีต้า (H)
  • สายพันธุ์ฟิลิปปินส์ (P.3) คือ สายพันธุ์ทีต้า (Θ)
  • สายพันธุ์สหรัฐฯ (B.1.526) คือ สายพันธุ์ไอโอตา (I)
  • สายพันธุ์อินเดีย B.1.617.1 คือ สายพันธุ์กัปปะ (K)

ดังนั้น โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า คือ สายพันธุ์อินเดียนั่นเอง

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า สายพันธุ์โควิดที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่จากการตรวจสอบสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย จากตัวอย่างเชื้อที่ส่งข้ามายังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างวันที่ 7 เม.ย.-13 มิ.ย. จำนวน 5,055 ตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) 4,528 ราย คิดเป็น 89.6% สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) เพิ่มขึ้นจาก 359 รายที่รายงานไปก่อนหน้านี้ เป็น 496 คน หรือเพิ่ม 137 ราย มากสุดคือ กทม.สะสม 404 ราย โดยเป็นรายใหม่ 86 ราย และ ยังพบ 10 ราย ในรพ.กลางกรุงเทพฯ 3-4 แห่ง อัตราการเพิ่มขึ้น จาก 8% เป็น 9.8%

นอกจากนี้ ยังพบที่ ปทุมธานี 28 ราย นครนายก 8 ราย สกลนคร 3 ราย พะเยา 2 ราย อุบลราชธานี 2 ราย เชียงราย เพชรบูรณ์ ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น อุดรธานี เลย และบุรีรัมย์ จังหวัดละ 1 ราย ขณะที่สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) ที่เริ่มพบที่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาสเดิมพบ 26 ราย ขณะนี้พบเพิ่มอีก 2 ราย นอกอำเภอตากใบ แต่ยังอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ นอกจากนี้ ยังพบอีก 3 ราย สถานกักกันตัวของรัฐจ.สมุทรปราการ

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า อันตรายมากแค่ไหน?

ความสามารถในการแพร่เชื้อของโควิดสายพันธุ์เดลต้า มากกว่าสายอัลฟ่า 40% จึงต้องมีการจับตาอย่างใกล้ชิด เป็นรายสัปดาห์ หากสถานการณ์ยังทรงๆ อาจจะไม่มีปัญหาแต่หากยังมีการแพร่ระบาดแบบก้าวกระโดด คาดว่าประมาณ 2-3 เดือน อาจจะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดมากขึ้นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งกับสายพันธุ์อัลฟ่า 

ส่วนในต่างจังหวัดที่พบเชื้อสายพันธุ์เดลต้านั้นพบว่ามีความเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ มาก่อน โดยเฉพาะแคมป์คนงานหลักสี่

วัคซีนในประเทศไทย ป้องกันจากโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้หรือไม่?

นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการศึกษาวิจัยการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคหลังฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ใน 200 คน โดยนำเลือด หรือซีรั่ม มาตรวจสอบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ต่างๆ พบว่าเมื่อตรวจกับเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมพบว่ามีภูมิฯ ขึ้นสูง 100% สายพันธุ์อัลฟ่า ภูมิขึ้น 50-60% จะมีตรวจเพิ่มเติมในผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้วเป็นเวลา 3 เดือน 6 เดือน อีกครั้ง และขณะนี้กำลังทดสอบในคนฉีดวัคซีนของแอสตร้าฯ 1 เข็ม รวมทั้งจะทำการทดสอบกับเชื้อเดลตา และเบต้า เพื่อดูถึงประสิทธิภาพวัคซีนที่ได้รับขณะนี้

ข้อมูลล่าสุดจากการสุ่มตรวจเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย ที่ศูนย์จีโนมฯ ร่วมกับ CONI วิจัย พบว่าขณะนี้ 71% เป็นสายพันธุ์อัลฟ่าที่ยังครองพื้นที่อยู่ 22% เป็นสายพันธุ์เดลต้า และ 3% เป็นสายพันธุ์เบต้า อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่เราใช้อยู่ขณะนี้ยังใช้ได้ผลกับ 2 สายพันธุ์ดังกล่าว การระบาดที่รวดเร็วโดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า จำเป็นต้องเร่งปูพรมฉีดวัคซีน จึงอยากให้ทุกคนเข้ารับวัคซีน ต้องดูแนวโน้มอีก 1 เดือนจะเห็นผลมากขึ้นว่าสายพันธุ์เดลต้าจะครองพื้นที่หรือไม่ หากถอดรหัสพันธุกรรมไปแล้วเกิน 50% ก็มีความแน่นอนว่าสายพันธุ์เดลต้าจะครองพื้นที่แทนอัลฟ่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook