6 วิธีปรับร่างกายช่วง Work From Home ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

6 วิธีปรับร่างกายช่วง Work From Home ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

6 วิธีปรับร่างกายช่วง Work From Home ป้องกันออฟฟิศซินโดรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำงานที่บ้าน หรือ Work from home นั่งนาน นั่งไม่ถูกวิธี ปวดหลัง ปวดศีรษะได้ เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม แนะ 6 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมขณะทำงาน

Work From Home อาจเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากนโยบายทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home เพื่อขอความร่วมมือให้คนไทยอยู่บ้าน งดการเดินทาง หวังแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ ซึ่งวัยทำงานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและสถานที่ในการทำงาน อีกทั้งอุปกรณ์สำนักงานในบ้านอาจไม่เพียงพอ ไม่เหมาะกับสรีระ หรือลักษณะการนั่งไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ตามมาได้ 

สัญญาณอันตราย เสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

อาการที่เป็นสัญญาณเตือนและพบบ่อย คือ 

  1. ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กะบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ 
  2. สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงาน ไม่เต็มร้อย 
  3. ปวดศีรษะเรื้อรัง (Tension Headache) ที่สะสมจากความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด 
  4. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นและนิ้วมือ ซึ่งเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้ 

หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการจะรุนแรงจนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้

6 วิธีปรับร่างกายช่วง Work From Home ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

วัยทำงานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมขณะทำงานได้ด้วย 6 วิธี ดังนี้

  1. ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย
  2. หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ด ควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
  3. ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กะพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง
  4. ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์
  5. กินอาหารให้ตรงเวลาและครบ 5 หมู่
  6. ควรเปิดหน้าต่างที่บ้านเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทบ้าง อย่างน้อยในตอนเช้าและพักกลางวัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook