กิน “ยาแก้ปวด” มากเกินไป เสี่ยง “ปวดศีรษะ” ได้

กิน “ยาแก้ปวด” มากเกินไป เสี่ยง “ปวดศีรษะ” ได้

กิน “ยาแก้ปวด” มากเกินไป เสี่ยง “ปวดศีรษะ” ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อหรือไม่ว่า ยาแก้ปวดที่เรากินกันอยู่เป็นประจำ และคิดว่าปลอดภัย ไม่น่ามีปัญหาอะไร จริงๆ แล้วหากกินมากเกินไป ก็มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ด้วยเช่นกัน

อ. นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า การกินยาแก้ปวดมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

โรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

โรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medical overuse headache) เกิดจากการที่ผู้ป่วยใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดศีรษะในปริมาณที่มากเกินไป เป็นผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากขึ้นในระยะเวลาต่อมา และมีความถี่ของอาการปวดศีรษะแทบทุกวัน 

ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเกิน 3 เดือน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มพาราเซตามอล หรือกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เกิน 15 วัน/เดือน หรือมีประวัติการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มเออร์โกตามีน ทรีปแทน หรือโอปีออยด์ เกิน 10 วัน/เดือน

อาการปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

  1. อาการปวดศีรษะจะมีความถี่ขึ้น เมื่อใช้ยานานขึ้น 
  2. ยาแก้ปวดที่ใช้มีประสิทธิภาพลดลง ที่เคยรับประทานแล้วหายปวดกลับไม่หายปวด 
  3. อาการปวดศีรษะจะเกิดขึ้นภายหลังยาแก้ปวดหมดฤทธิ์
  4. ผู้ป่วยจะต้องใช้ขนาดยาแก้ปวดที่เพิ่มขึ้น
  5. ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะขณะนอนหลับร่วมด้วย เนื่องจากขาดยาในช่วงเวลานอนและทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

วิธีป้องกันอาการปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป

  1. หยุดหรือลดปริมาณของยาแก้ปวดที่ใช้เกินขนาด
  2. ปรับรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดภาวะเครียดหรือปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ
  3. ในผู้ป่วยที่มีโรคปวดศีรษะอยู่เดิม เช่น โรคปวดศีรษะไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการใช้ยาและป้องกันอาการปวดศีรษะที่เหมาะสม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook