อาการ "ไอ" แบบไหนผิดปกติ ควรไปพบแพทย์

อาการ "ไอ" แบบไหนผิดปกติ ควรไปพบแพทย์

อาการ "ไอ" แบบไหนผิดปกติ ควรไปพบแพทย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากมีอาการไอ อาจสันนิษฐานเบื้องต้นว่าเป็นไข้หวัด ซึ่งอาการจะดีขึ้นเมื่ออาการหวัดดีขึ้น หรือหากมีอาการไอค่อนข้างหนักจนรบกวนการใช้ชีวิต อาจสามารถหายาแก้ไอมากินเองได้

แต่หากมีอาการไอที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี

ประเภทของอาการไอ

อ. นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสารน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า อาการไอ แบ่งตามระยะเวลาได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. ไอเฉียบพลัน (Acute Cough) มีอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์
  2. ไอกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Cough) มีอาการไอตั้งแต่ 3-8 สัปดาห์
  3. ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) มีอาการไอต่อเนื่องมากกว่า 8 สัปดาห์

หากมีอาการไอเรื้อรังควรพบแพทย์ เมื่อมีอาการร่วมดังต่อไปนี้

  1. ไอเป็นเลือด หรือไอมีเสมหะปนเลือด
  2. เสียงแหบ
  3. มีไข้
  4. น้ำหนักลด
  5. มีอาการหอบเหนื่อยโดยเฉพาะขณะพัก
  6. มีประวัติป่วยเป็นโรคปอดอักเสบบ่อยๆ
  7. กลืนลำบากหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บ
  8. มีอาการสำลัก

คำแนะนำจากแพทย์

ผู้ป่วยที่มีอาการไอต่อเนื่องตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ร่วมกับอาการร่วมอื่นๆ หรือมีอาการแทรกซ้อนควรพบแพทย์เพื่อรับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ปอดเพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook