สี "อุจจาระ" บอกสุขภาพ เสี่ยงโรคหรือไม่

สี "อุจจาระ" บอกสุขภาพ เสี่ยงโรคหรือไม่

สี "อุจจาระ" บอกสุขภาพ เสี่ยงโรคหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อุจจาระเป็นของเสียที่เหลือจากการย่อยของระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเหม็นจากการหมักของแบคทีเรียในลำไส้ สีของอุจจาระนั้นมีความแตกต่างกันตามชนิดของอาหารและยาที่รับประทาน อย่างไรก็ตามสีของอุจจาระอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร การอุดตันในท่อน้ำดีหรือปัญหาการดูดซึมสารอาหารของลำไส้ เป็นต้น

อ. นพ.สุกิจ ภัทรเจียรพันธุ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า สีของอุจจาระที่แตกต่างกัน เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

สี "อุจจาระ" บอกสุขภาพ เสี่ยงโรคหรือไม่

  1. สีน้ำตาล เป็นอุจจาระสีปกติ
  2. สีเหลือง เป็นอุจจาระสีปกติ แต่หากอุจจาระเป็นสีเหลืองมันและมีกลิ่นเหม็นมาก อาจเป็นสัญญาณของภาวะการดูดซึมสารอาหารของร่างกายผิดปกติ
  3. สีเขียว อาจเกิดจากโรคท้องร่วง การรับประทานผักใบเขียวเป็นปริมาณมาก หรือยาฆ่าเชื้อบางชนิด
  4. สีดำ อาจเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น คือ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอก การอักเสบ หรือภาวะหลอดเลือดโป่งพองนอกจากนี้การรับประทานธาตุเหล็กก็ทำให้เกิดอุจจาระสีดำได้
  5. สีแดง ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนล่าง คือ ลำไส้เล็กส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก รวมถึงริดสีดวงทวารแต่บางครั้งอาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสีแดง เช่น บีทรูท น้ำมะเขือเทศ หรือแครนเบอร์รี
  6. สีอ่อนหรือสีซีด ให้ระมัดระวังว่าอาจเกิดจากการอุดตันในท่อน้ำดี ทำให้ไม่มีน้ำดีในอุจจาระจนทำให้เป็นสีขาวซีด แต่สามารถเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดได้ เช่น ยาลดกรดอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ หรือยารักษาโรคท้องร่วง

คำแนะนำจากแพทย์

หากพบว่าสีของอุจจาระเปลี่ยนไป สามารถหยุดบริโภคอาหารหรือยาที่สงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุ ประมาณ 2-3 วัน เพื่อดูว่าสีของอุจจาระกลับมาปกติหรือไม่ แต่หากไม่แน่ใจหรือมีอาการอื่นในระบบทางเดินอาหารร่วม ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook