แพทย์แนะ ผู้ป่วย "ข้อเข่าเสื่อม" ดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19

แพทย์แนะ ผู้ป่วย "ข้อเข่าเสื่อม" ดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19

แพทย์แนะ ผู้ป่วย "ข้อเข่าเสื่อม" ดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“โรคข้อ” คือภัยเงียบที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งพบได้มากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะพบสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย 

สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวข้อตามกาลเวลา การใช้งานเข่าที่หนัก หรือผิดท่า น้ำหนักตัวที่มาก ปัจจัยทางพันธุกรรมหรือโรคประจำตัวที่มีผลกับข้อเข่า ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวดบวมที่ข้อ ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืด หรือข้อติด ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้จำกัดและปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆ ได้ไม่สะดวก 

ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเมดพาร์ค ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่บ้านของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่สามารถช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยได้

ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ผู้ป่วย "ข้อเข่าเสื่อม" ดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมที่มีการรุนแรง ควรจะต้องดูแลตนเองให้ดีเพื่อประคับประคองสถานการณ์ให้สามารถดำรงชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ต้องควบคุมน้ำหนักของตนให้ดี เพราะน้ำหนักร่างกายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ภาวะอาการของโรคมีมากขึ้น 
  2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อความทรุดของข้อมาก ๆ เช่น ท่าทางที่ต้องใช้การพับเข่ามาก ๆ การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งยอง หรือกระโดดหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ทำให้ข้อเสื่อมได้มากขึ้น 
  3. ต้องบริหารกล้ามเนื้อให้ดี เช่น สำหรับข้อสะโพก ควรบริหารกล้ามเนื้อต้นขา สำหรับข้อเข่า ควรบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า 
  4. ประคบข้อที่อักเสบด้วยความร้อน ครั้งละประมาณสิบนาที จะช่วยผ่อนคลายอาการระบมอักเสบได้ และช่วยลดความเจ็บปวดลง

วิธีเหล่านี้สามารถช่วยประคองให้ข้อที่เสื่อม ยังพอจะสามารถใช้การต่อไปในชีวิตประจำวันได้เรื่อยๆ  

วิธีสังเกตอาการของตนเองว่าถึงเวลาที่ควรเข้ามาพบแพทย์แล้วหรือยัง

หากความเจ็บปวดนั้นรบกวนชีวิตประจำวันเรามากขึ้น เช่น วันนี้เดินได้สิบก้าวมีอาการปวด และวันต่อไปมีอาการปวดเมื่อเดินได้ห้าก้าว เราช่วยเหลือตนเองในแต่ละวันลำบากมากขึ้น ต้องพึ่งคนอื่นมากขึ้นเรื่อยๆ อาการเจ็บปวดนั้นไม่สามารถคลายปวดได้เอง หรือในระยะเวลาหนึ่งถึงสองอาทิตย์อาการไม่ดีขึ้นเลย 

หากมีอาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะอื่นหรือภาวะใดๆ ที่ทำให้เป็นเช่นนั้น สามารถเข้ารับการผ่าตัดในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้หรือไม่ 

ในกรณีที่ ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่เป็นระยะรุนแรงจนต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของบุคลากรและผู้ให้การรักษาที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันทุกคน การแบ่งแยกพื้นที่ของโรงพยาบาลอย่างชัดเจนสำหรับการให้บริการผู้ป่วยในแต่ละประเภท และการคัดกรองที่เข้มงวด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดต่อของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook