“กล้วย” และ ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ บรรเทาโรคระบบทางเดินอาหาร-บำรุงร่างกาย

“กล้วย” และ ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ บรรเทาโรคระบบทางเดินอาหาร-บำรุงร่างกาย

“กล้วย” และ ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ บรรเทาโรคระบบทางเดินอาหาร-บำรุงร่างกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผยวิธีการใช้ประโยชน์จากกล้วย เป็นยาบำรุงร่างกาย ตามองค์ความรู้ด้านศาสตร์การแพทย์แผนไทย ใช้เป็นรักษาโรคทางระบบทางเดินอาหาร ยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำและบำรุงน้ำนมในสตรีให้นมบุตร โดยเฉพาะ ตำรับกล้วยดองน้ำผึ้ง ตามศาสตร์หมอพื้นบ้าน ยังเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย 

นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กล้วยสามารถนำมาประกอบอาหาร หรือปรุงเป็นยารักษาโรคได้ ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีการนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ

“กล้วย” และ ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

  • กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่าม ซึ่งมีรสฝาด จะใช้บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (อุจจาระไม่มีมูกเลือดปนหรือท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้) เนื่องจากสารแทนนินในกล้วยน้ำว้าดิบหรือห่าม มีสรรพคุณช่วยลดการหดเกร็งและลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ จะช่วยบรรเทา อาการท้องเสียได้

วิธีรับประทาน 

  1. รับประทานครั้งละ ครึ่งลูก หรือ 1 ลูก 
  2. หรือฝานเป็นแว่นๆ ตากแดดให้แห้งแล้วบดเป็นผง รับประทานครั้งละ 10 กรัม ชงในน้ำร้อน 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ 
  • กล้วยน้ำว้าสุก มีรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก เนื่องจากมีสารเพคตินอยู่เป็นจำนวนมาก จึงช่วยเพิ่มกากอาหาร ให้กับลำไส้ เมื่อผนังลำไส้ถูกดันก็จะทำให้รู้สึกอยากขับถ่าย 

วิธีรับประทาน 

รับประทานครั้งละ 1 – 2 ลูก และดื่มน้ำเปล่าตามมากๆ

    • หัวปลี สรรพคุณ เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนมในสตรีให้นมบุตร โดยจะนำมาปรุงเป็นอาหาร เมนูต่างๆ เช่น ยำหัวปลี แกงเลียงหัวปลี หมกหัวปลีใส่ไก่ ฯลฯ หรือรับประทานเป็นผักเคียงในเมนูผัดไทย เป็นต้น 
  • กล้วยดองน้ำผึ้ง

กล้วยดองน้ำผึ้ง เป็นสูตรตำรับยาหมอพื้นบ้าน ที่เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ และบำรุงกำหนัด 

วิธีทำ 

  1. นำกล้วยน้ำว้าสุกปอกเปลือกแล้วใส่ลงในโหลแก้ว
  2. เติมน้ำผึ้งพอท่วม ดองไว้ 3 เดือน 

ขนาดรับประทาน รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำเปล่า 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง 

ตำรับนี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน 

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามโดยตรงได้ที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5678 หรือช่องทางออนไลน์ที่เฟซบุ๊ก และ ไลน์แอดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก line@DTAM

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook