“ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ?

“ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ?

“ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวัน มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นจำนวนมาก เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว เป็นต้น ดังนั้นคงยากที่จะเลี่ยงอาหารเหล่านี้ แต่ถ้าเราเลี่ยงไม่ได้ แล้วการรับประทานทุกๆวันจะอันตรายกับเต้านมสาวๆ อย่างเราหรือไม่?

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ

แพทย์หญิง ตรีทิพย์ เกิดสินธ์ชัย แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมเต้านม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ระบุว่า มีคนไข้จำนวนมากที่ถามหมอมาเรื่องน้ำเต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองว่าจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งจริงหรือ เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารที่ชื่อว่า isoflavones ซึ่งมีฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนและจากงานวิจัยที่ทดลองในหนูพบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จากข้อมูลในปัจจุบัน ถั่วเหลืองมีเอสโตรเจนที่เป็นเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogens) ดังนั้นในมนุษย์ยังไม่มีงานวิจัยไหนที่ชี้ชัดเรื่องเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม ในทางกลับกันบางงานวิจัยพบว่าหากรับการทานในปริมาณที่มากขึ้น อาจจะยังช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมอีกด้วย และสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม การรับประทานถั่วเหลือง มีแนวโน้มช่วยลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านม

รับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองปริมาณเท่าไหร่ดี 

โดยปกติตามคำแนะนำของ FDA แนะนำให้รับประทานถั่วเหลือง 15-25 กรัม/วัน หรือเทียบเป็นปริมาณเต้าหู้ประมาณ 1-2 ถ้วย หรือน้ำเต้าหู้ประมาณ 1-2 แก้ว ทั้งนี้คนทั่วไปและคนไข้มะเร็งเต้านมสามารถรับประทาน น้ำเต้าหู้ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ได้อย่างปลอดภัย และปริมาณที่แนะนำคือ เต้าหู้ประมาณ 1-2 ถ้วย หรือน้ำเต้าหู้ประมาณ 1-2 แก้ว 

ทั้งนี้ความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มีหลากหลายปัจจัย ทั้งอายุ พันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต การป้องกันที่ดีคือหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายและเต้านมสม่ำเสมอ หากพบสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook