แบบทดสอบด้วยตัวเอง คุณเสี่ยงเป็น “ไบโพลาร์” มากแค่ไหน

แบบทดสอบด้วยตัวเอง คุณเสี่ยงเป็น “ไบโพลาร์” มากแค่ไหน

แบบทดสอบด้วยตัวเอง คุณเสี่ยงเป็น “ไบโพลาร์” มากแค่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคไบโพลาร์เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีการขึ้นและลงของอารมณ์อย่างรุนแรง โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) คือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนาน และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (ขั้วบวก = แมเนีย และ ขั้วลบ = ซึมเศร้า)

โดยปกติในแต่ละวัน คนเราจะมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ในระดับหนึ่งแล้วกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ รับผิดชอบหน้าที่การงาน ครอบครัว สังคมได้ แต่คนที่มีอารมณ์ผิดปกติ คือ เกิดอารมณ์ขั้วบวกหรืออารมณ์ขั้วลบเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป และไม่สามารถกลับเข้าสู่อารมณ์ปกติได้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัว

การสังเกตอาการเริ่มต้นนั้นทำได้ไม่ยาก โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีสัญญาณเริ่มต้น ได้แก่

  1. ขั้วบวก คือ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ 2-3 วัน พูดมากขึ้น ร่าเริงผิดปกติ หรือในบางคนอาจจะมีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  2. ขั้วลบ คือ เศร้าผิดปกติ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร คิดลบ รู้สึกไม่อยากมีชีวิต 

ลองทำแบบทดสอบที่รวบรวมข้อมูลโดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้วดูว่าเรามีความเสี่ยงที่จะมีอาการไบโพลาร์มาน้อยแค่ไหน

จงตอบคำถามด้วยความสัตย์จริง ไม่บิดเบือนคำตอบอย่างเด็ดขาด

แบบทดสอบด้วยตัวเอง คุณเสี่ยงเป็น “ไบโพลาร์” มากแค่ไหน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook