4 อาการสัญญาณเตือน เสี่ยง “พาร์กินสัน”
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/he/0/ud/6/34069/hands-shaking.jpg4 อาการสัญญาณเตือน เสี่ยง “พาร์กินสัน”

    4 อาการสัญญาณเตือน เสี่ยง “พาร์กินสัน”

    2022-05-19T15:56:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    นอกจากอาการสั่นที่เป็นอาการเด่นของโรคนี้แล้ว ยังมีอาการอะไรอีกที่บ่งบอกว่าเราอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน

    ศ. นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และ พญ.ทิตญา ประเสริฐปั่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โรคพาร์กินสัน นับเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยโดยพบประมาณร้อยละ 0.3 ของประชากรโดยรวม และในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี พบมากขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 1-2

    สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

    โรคพาร์กินสัน เกิดจากมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผิดปกติตกตะกอนและสะสมอยู่ในเซลล์ประสาทที่สมองส่วนกลาง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นเสื่อม ซึ่งเซลล์สมองบริเวณนี้ทำหน้าที่สำคัญในการผลิตสารสื่อประสาทที่เรียกว่าโดปามีน มีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายเมื่อมีการเสื่อมของเซลล์ประสาทจะส่งผลให้สารโดปามีนในสมองลดลงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติ

    ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

    1. อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
    2. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน
    3. สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช
    4. มีประวัติได้รับการบาดเจ็บของสมองซ้ำๆ เช่น นักมวย เป็นต้น

    4 อาการสัญญาณเตือน เสี่ยง “พาร์กินสัน”

    ผศ. ดร. พญ. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล แพทย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ ระบุว่า ผู้ป่วยที่เป็นโณคพาร์กินสันมักจะมีปัญหาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน เช่น 

    • เคลื่อนไหวช้า 
    • มือสั่นขณะที่มืออยู่นิ่ง 
    • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง 
    • ทรงตัวได้ไม่ดี 

    เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ยังไม่มีอาการของโรคพาร์กินสัน ถ้ามีอาการแสดง 4 อาการดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพาร์กินสันในอนาคตได้

    1. นอนละเมอ
    2. ท้องผูกเรื้อรัง
    3. ความสามารถในการรับกลิ่นลดลง
    4. ซึมเศร้า

    หากมีอาการดังกล่าว ร่วมกับมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมิน และวินิจฉัยอาการทันที

    การรักษาโรคพาร์กินสัน

    ศ. นพ.รุ่งโรจน์ ระบุว่า ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้การรักษาจึงมุ่งเน้นการบรรเทาอาการเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติมากที่สุดปัจจุบันมีทั้งการรักษาด้วยยา การรักษาโดยไม่ใช้ยา และการรักษาขั้นสูง เช่น การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า เป็นต้น

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :ศ. นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และ พญ.ทิตญา ประเสริฐปั่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,ผศ. ดร. พญ. อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล แพทย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ

    ภาพ :iStock