ฝีดาษลิง vs ฝีดาษคน แตกต่างกันอย่างไร

ฝีดาษลิง vs ฝีดาษคน แตกต่างกันอย่างไร

ฝีดาษลิง vs ฝีดาษคน แตกต่างกันอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากโรคฝีดาษลิงที่เริ่มมีข่าวระบาดในแถบยุโรป แตกต่างจากฝีดาษคนปกติอย่างไรบ้าง

เราอาจจะเคยได้ยินชื่อโรค “ฝีดาษ” หรือไข้ทรพิษกันมานานมากแล้วตั้งแต่เด็กๆ แต่เป็นชื่อโรคที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันมากนัก เพราะจริงๆ แล้วองค์การอนามัยโรคประกาศให้โรคฝีดาษสูญพันธ์ไปจากโลกแล้วเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2517 และคนไทยก็เลิกปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษมานับแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่จากข่าวการเริ่มระบาดของโรค “ฝีดาษลิง” ในแถบประเทศยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้คนไทย รวมถึงคนทั่วโลกกลับมาตระหนักถึงโรคนี้กันอีกครั้งว่ามันมีอันตรายมากแค่ไหน คนเสี่ยงติดโรคนี้มากแค่ไหน

ฝีดาษลิง vs ฝีดาษคน แตกต่างกันอย่างไร

อาการของโรคฝีดาษลิง

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบได้น้อย โรคนี้พบมากในแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงก็อาจติดเชื้อได้ รวมทั้งคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคฝีดาษลิงหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยคือ

  1. มีไข้ หนาวสั่น
  2. ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต (ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการสำคัญที่แตกต่างจากฝีดาษคน)
  3. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
  4. อ่อนเพลีย
  5. จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
  6. จากผื่น จะกลายเป็นตุ่มหนอง
  7. ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา

อาการของโรคฝีดาษคน

โรคฝีดาษมีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา (Variola Virus) ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านทางการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือหายใจเอาละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเข้าไปในร่างกาย นอกจากนี้การสัมผัสกับผื่นหรือตุ่มน้ำของผู้ป่วยตรงๆ โดยไม่ป้องกัน และการใช้เครื่องนอน เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วยก็ทำให้ติดเชื้อได้

เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 7-17 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  1. มีไข้สูง
  2. รู้สึกไม่สบายตัว หนาวสั่น
  3. ปวดศีรษะ
  4. อ่อนเพลียอย่างรุนแรง
  5. ปวดหลังอย่างรุนแรง
  6. อาเจียน
  7. มีผื่นสีแดงขึ้นลามไปทั่วทั้งตัว แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำและตุ่มหนองตามลำดับ

จากนั้นต้องใช้เวลาอีก 8-9 วันแผลจึงเริ่มตกสะเก็ด แล้วค่อยๆ หลุด เหลือเพียงแผลเป็นในที่สุด

วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง

ฝีดาษในคนปกติได้สูญพันธ์ไปจากโลกแล้ว จึงไม่มีการปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษอีกนับตั้งแต่ปี 2517 แต่สำหรับการระบาดของโรคฝีดาษลิงในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า หากสถานการณ์ไม่สู้ดี ในอนาคตเราอาจมีโอกาสที่ต้องเริ่มปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคกันอีกครั้ง

ขณะนี้ ยังไม่มีวิธีป้องกันฝีดาษลิงโดยเฉพาะ แต่การปลูกฝีที่ใช้ป้องกันฝีดาษในคน สามารถใช้ป้องกันฝีดาษลิงได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดและสัมผัสกับลิงป่วย รวมถึงผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ไม่เข้าใกล้หรือสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยโดยตรง และล้างมือและสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทุกครั้งที่ต้องเข้าใกล้พื้นที่โรคระบาด สามารถป้องกันการติดต่อของโรคฝีดาษได้ทั้งฝีดาษลิง และฝีดาษคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook