ยาหมดอายุ ดูยังไง? ทานแล้วเป็นอันตรายหรือไม่?

ยาหมดอายุ ดูยังไง? ทานแล้วเป็นอันตรายหรือไม่?

ยาหมดอายุ ดูยังไง? ทานแล้วเป็นอันตรายหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ เภสัชกรรม (อภ.) แนะวิธีดูวันหมดอายุของยาว่า เป็นวันที่คาดว่าตัวยาสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรคของยานั้นๆ เหลือปริมาณน้อยกว่า ร้อยละ 90 ของปริมาณที่กำหนดในสูตรตำรับนั้นๆ ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพและปลอดภัยในการใช้ยา ควรสังเกตว่ายาต่างๆ ที่ได้รับนั้นหมดอายุหรือยัง เนื่องจากหากใช้ยาที่หมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ นอกจากจะไม่มีผลในการรักษายังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

การสังเกตวันหมดอายุของยาเป็นหลักการเดียวกันกับอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่เราคุ้นเคย โดยทั่วไปการกำหนดวันหมดอายุจะขึ้นกับประเภทของยา เช่น ยาเม็ดจะไม่เกิน 5 ปี และยาน้ำ 2-3 ปี นับจากวันผลิต อย่างไรก็ตาม การกำหนดอายุยาอาจแตกต่างไปจากนี้ได้ โดยผู้ผลิตจะพิจารณาจากสารเคมีที่ใช้ ข้อมูลการทดสอบความคงตัว หรือส่วนประกอบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริษัท ซึ่งจะพบวันผลิต manufacturing date หรือ mfd.date และวันหมดอายุ exp.date, exp, expiring, use by หรือ use before บางครั้งก็อาจใช้คำว่า ยาสิ้นอายุ สามารถดูข้อมูลเหล่านี้จากกล่องบรรจุ ฉลากยา หรือบนแผงยา ตำแหน่งมักเป็นบริเวณด้านยา หรือบนแผงยา ตำแหน่งมักเป็นบริเวณด้านใต้กล่อง หรือด้านล่างฉลาก

สำหรับการอ่านวันหมดอายุแบบไทยๆ จะเริ่มจากวัน เดือน ปี อาจจะ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ก็ได้ แต่ถ้ามีเฉพาะเดือน และปี ให้นับวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เป็นวันหมดอายุ เช่น exp. date 27/2/2555 หมายถึง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 หรือ exp. date 17.2.13 หมายถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013 หรือ exp.04/14 หมายถึงวันที่ 30 เดือนเมษายน ค.ศ.2014 เป็นต้น

ส่วนยาที่แบ่งบรรจุ หรือยาที่เปิดใช้แล้ว หากมีการเปิดใช้ หรือนำยามาแบ่งจากภาชนะเดิม เช่น ยานับเม็ด หรือครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ำในขวดพลาสติก จะส่งผลให้วันหมดอายุของยาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้จะต้องกำหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดยนับจากวันที่แบ่งบรรจุ 1 ปี ซึ่งถ้าได้รับจากสถานพยาบาลก็แบ่งบรรจุ 1 ปี ซึ่งถ้าได้รับจากสถานพยาบาลก็จะมีการระบุไว้เช่นกัน ดังนั้นหากเหลือยาเก็บไว้ที่บ้านไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไร ไม่มีการเขียนไว้ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยาหรือซองที่ระบุวันที่ได้รับมา หากยาเม็ดเกิน 1 ปี หรือยาน้ำเกิน 6 เดือนก็ให้ทิ้งไปไม่ควรใช้ต่อ

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าแม้ไม่ถึง 1 ปี หรือก่อนกำหนดเวลาแต่ยาเสื่อมสภาพ เม็ดยากร่อน ร่อน ยาน้ำสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดไป เหม็น เขย่าไม่เข้ากันเป็นเนื้อเดียว หรือครีมแยกชั้นควรทิ้งโดยแยกใส่ถังขยะอันตรายเท่านั้น

อีกกรณีหนึ่ง คือยาเหลือใช้ที่มีอยู่ในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์จ่ายหรือยาที่ซื้อจากร้านขายยาแล้ว ยาที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ตามที่แพทย์สั่ง ยาที่ใช้สำหรับรักษาตามอาการแต่ปัจจุบันไม่มีอาการดังกล่าว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือเป็นยาที่ได้มาซ้ำซ้อน ไม่ควรใช้ยาดังกล่าวกับบุคคลในครอบครัวหรือผู้อื่น แม้จะมีอาการคล้ายกับที่เราเคยป่วยแต่อาการของจะมีอาการคล้ายกับที่เราเคยป่วยแต่อาการของโรคอายุของผู้ป่วยการแพ้ยาของแต่ละคนจะแตกต่างไม่เหมือนกัน อาจส่งผลร้ายในการใช้ยา ดังนั้น ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยา หรือพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคจะเกิดผลดีต่อการรักษาอาการ

 

ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook