7 เหตุผลที่ทำให้คนลดน้ำหนักด้วยวิธี IF ไม่ได้ผล แถมระบบเผาผลาญพัง

7 เหตุผลที่ทำให้คนลดน้ำหนักด้วยวิธี IF ไม่ได้ผล แถมระบบเผาผลาญพัง

7 เหตุผลที่ทำให้คนลดน้ำหนักด้วยวิธี IF ไม่ได้ผล แถมระบบเผาผลาญพัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำ IF หรือ Intermittent Fasting เป็นหนึ่งในวิธีลดน้ำหนักที่ได้ผลดี และแพทย์แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการควบคุมน้ำหนัก รวมถึงทำให้สุขภาพร่างกายโดยทั่วไปดีขึ้นได้ด้วย แต่หากทำ IF ไม่ถูกวิธี นอกจากจะลดน้ำหนักไม่ได้ผลแล้ว ยังเสี่ยงระบบเผาผลาญพัง อ้วนง่ายอีกด้วย

นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกศัลยศาสตร์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า หรือ หมอท็อป ระบุถึง 7 เหตุผลที่ทำให้คนลดน้ำหนักด้วยวิธี IF ไม่ได้ผล แถมระบบเผาผลาญพัง เอาไว้ดังนี้

  1. เปลี่ยนแปลงเวลารับประทานอาหารเร็วเกินไป

การเปลี่ยนแปลงเวลาในการกินอาหารรวดเร็วเกินไปจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน ร่างกายอาจจะเครียดเกินไป และทำให้เราทำไม่ไหว และอยากจะเลิกทำ เพราะทุกข์ทรมานกับความหิว โดยเฉพาะคนที่ติดหวาน ชอบกินของหวาน จะเริ่มทำ IF ยากกว่าคนอื่น
ดังนั้น ถ้าอยากจะค่อยๆ ปรับร่างกายให้ชินกับเวลาการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลง คนที่ติดหวานเริ่มจากการงดขนมระหว่างมื้อ และค่อยๆ ปรับเวลาในการกินที่ 12/12 ก่อน แล้วจึงค่อยปรับเป็นเวลาหยุดกินที่นานขึ้นในภายหลัง

  1. คิดว่าการทำ IF คือการลดน้ำหนักอย่างเดียว

แม้ว่าการทำ IF จะสามารถลดน้ำหนักได้จริง แต่เป็นเพียงเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผล จริงๆ แล้วเราสามารถทำ IF ให้เป็นกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ต้องการลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียว เราควรตั้งเป้าหมายในการทำ IF ให้มากกว่าลดน้ำหนัก อาจจะทำ IF เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น ยืนยาวแข็งแรงขึ้น เป็นต้น

  1. รับประทานอาหารน้อยเกินไป

เมื่อไรก็ตามที่เรากินอาหารน้อยเกินไป ร่างกายจะเริ่มปรับระบบการเผาผลาญให้ทำงานน้อยลง เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะรักษาพลังงานเอาไว้ให้มากที่สุด เพราะร่างกายเริ่มรู้ว่าได้รับอาหารน้อยลงกว่าปกตินั่นเอง ดังนั้นเมื่อทำ IF ระหว่างในเวลาที่กินอาหารได้ ควรกินให้อิ่ม ไม่ควรกินน้อยเกินไป และเลือกอาหารที่ถูกต้อง เช่น อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ เป็นต้น

  1. รับประทานคาร์โบไฮเดรต (แป้ง หรือ น้ำตาล) มากเกินไป

การทำ IF จุดประสงค์คือการทำให้อินซูลินในร่างกายลดลง แต่การกินคาร์โบไฮเดรตมากๆ จะทำให้อินซูลินสูงขึ้น จึงทำให้การทำงานในร่างกายสวนทางกัน และเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายมีอินซูลินสูง ร่างกายก็จะเก็บไขมันมากขึ้น และทำให้อ้วนง่าย และหิวง่าย

  1. รับประทานโปรตีนมากเกินไป

การทำ IF ไม่จำเป็นต้องกินโปรตีนมากจนเกินไป กินให้อยู่ในขนาดที่พอดีๆ หรือราวๆ 1 ฝ่ามือต่อ 1 มื้อ และแนะนำให้กินโปรตีนจากธรรมชาติ มากกว่าโปรตีนสังเคราะห์ โปรตีนชง โปรตีนผง เพราะหากกินโปรตีนมากเกินไป และไม่ได้ออกกำลังกายให้เพียงพอหรือเหมาะสมต่อปริมาณโปรตีนที่กินเข้าไป แทนที่โปรตีนจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อ อาจทำให้เราอ้วนมากขึ้นแทนได้

  1. รับประทานไขมันมากเกินไป

หากเลือกที่จะทำ IF โดยการกินอาหารแบบคีโตเจนิก คือ เน้นกินไขมัน จุดประสงค์คือต้องการให้ร่างกายรู้ว่าเราตั้งใจกินแต่ไขมันเพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานจากไขมันมาใช้แทน นอกจากนี้ร่างกายไม่ค่อยกระตุ้นอินซูลิน แต่หากกินไขมันเยอะเกินไป ร่างกายอาจเผาผลาญไขมันได้แค่ส่วนที่กินเพิ่มเข้าไป ไม่ได้เข้าไปเผาผลาญไขมันออกจากตับ หลอดเลือด หรือพุงที่เป็นไขมันเดิมที่มีอยู่ในร่างกาย ดังนั้นจึงควรกินไขมันให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย

  1. เครียดมากเกินไป

เมื่อเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาเยอะ และอาจทำให้ระบบเผาผลาญหยุดการทำงาน สุขภาพจะแย่ และน้ำหนักจะขึ้นง่าย การลดน้ำหนักจะไม่ได้ผล รวมไปถึงออกกำลังกายหนักเกินไป ทำให้ร่างกายเครียดเกินไปจนลดน้ำหนักไม่ได้ผลเช่นเดียวกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook