โควิด-19 ระลอกใหม่ ไม่ใส่หน้ากากเสี่ยงแพร่เชื้อมากที่สุด

โควิด-19 ระลอกใหม่ ไม่ใส่หน้ากากเสี่ยงแพร่เชื้อมากที่สุด

โควิด-19 ระลอกใหม่ ไม่ใส่หน้ากากเสี่ยงแพร่เชื้อมากที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2565 โควิด-19 ยังระบาดหนักอยู่ และการเริ่มการ์ดตก ไม่ใส่หน้ากาก เป็นตัวการสำคัญของการแพร่เชื้อให้กระจายหนักยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อ

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุในโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การติดโควิด-19 ในช่วงระยะหลังๆ มานี้ “เป็นคนที่ระมัดระวังตัวป้องกันตัวเองเต็มที่ และเป็นคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิดที่มีประสิทธิภาพสูงครบโดส รวมทั้งได้เข็มกระตุ้น เช่นได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 3 เข็ม วัคซีนแอสตร้าเซเนกา 2 เข็มตามด้วยวัคซีน mRNA 2 เข็ม หรือวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซเนกา 1 เข็มและโมเดอร์นาอีก 2 เข็ม แต่ก็ยังติดเชื้อ แสดงว่าเชื้อนี้แพร่กระจายเร็ว และหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนได้มากกว่าสายพันธุ์เดิมก่อนหน้านี้ แต่โชคดีคนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดี และได้รับเข็มกระตุ้น จะมีอาการน้อยมาก หายได้เอง และส่วนใหญ่ไม่มีอาการของลองโควิด”

หน้ากากอนามัย ป้องกันโควิด-19 ได้

แค่วัคซีนยังป้องกันโควิด-19 ไม่เพียงพอ

แม้จะฉีดวัคซีนไป 3-4 เข็มแล้ว แต่วัคซีนยังไม่มากเพียงพอที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้เต็มที่ และไอเท็มที่สำคัญจริงๆ ยังคงเป็น “หน้ากากอนามัย” 

หมอยงระบุว่า “เราไม่สามารถพึ่งวัคซีนรุ่นปัจจุบันในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด จำเป็นต้องพึ่งมาตรการส่วนบุคคลโดยเฉพาะหน้ากากอนามัย 

“ถ้าคนติดเชื้อไม่ใส่หน้ากากอนามัย คนปกติใส่หน้ากาก จะลดการรับเชื้อได้ร้อยละ 30 ถ้าคนติดเชื้อใส่หน้ากากอนามัย คนปกติไม่ได้ใส่หน้ากาก จะลดการรับเชื้อได้ร้อยละ 95

ถ้าทั้งคนติดเชื้อ และคนปกติ ต่างใส่หน้ากากอนามัย จะลดการรับเชื้อได้ร้อยละ 98.5”

ดังนั้น ยังคงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนควรใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในที่สาธารณะผู้คนแออัด อากาศปิด ถ่ายเทไม่ดี ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

ในอนาคตอันใกล้เมื่อเรามีวัคซีนรุ่นใหม่ที่สามารถครอบคลุมไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5 เราอาจจะพึ่งวัคซีนรุ่นใหม่ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook