วิจัยชี้ กินยาแก้ซึมเศร้านานๆ อาจทำให้ "เซโรโทนิน" ลดลง

วิจัยชี้ กินยาแก้ซึมเศร้านานๆ อาจทำให้ "เซโรโทนิน" ลดลง

วิจัยชี้ กินยาแก้ซึมเศร้านานๆ อาจทำให้ "เซโรโทนิน" ลดลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เผยผลการศึกษาล่าสุด พบว่า ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสารเซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากระดับของเซโรโทนินที่ต่ำลง และกินยาแก้ซึมเศร้านานๆ อาจทำให้เซโรโทนินลดลง

ที่มาของการศึกษานี้มาจากการทบทวน วิเคราะห์ข้อมูลจากงานศึกษาต่างๆ 17 การศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วนำมาสรุป

สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย 

  • ปัจจัยทางชีวภาพ (การเปลี่ยนแปลงในระดับยีนส์, การทำงานของสมอง, การทำงานของสารสื่อประสาทต่างๆ เช่น เซโรโทนิน โดปามีน นอร์เอพิเนฟรีน และอื่นๆ) 
  • ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (ความเครียด การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อม) 

ปัจจัยทั้ง 2 ส่วนก็ส่งผลต่อกันจนปลายทางทำให้เกิดความเป็นโรคซึมเศร้าขึ้น

เรื่องสาเหตุของการเกิดโรคเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และยังมีรายละเอียดอีกมากที่ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียว

การรักษาโรคซึมเศร้า

ทางการแพทย์จะใช้การรักษาวิธีต่างๆ ร่วมกันได้แก่

  • การใช้ยาแก้ซึมเศร้า ซึ่งไปปรับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านชีวภาพ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และก็มีหลายการศึกษาที่ยืนยันประสิทธิภาพของยาแก้ซึมเศร้าในการใช้ยา ในส่วนของกลไกว่ายาช่วยได้อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่ยังมีการศึกษาวิจัยเรื่อยๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคำอธิบายถึงเรื่องนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามองค์ความรู้ที่ค้นพบขึ้นเรื่อยๆ และยังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ 
  • การรักษาทางด้านจิตสังคม เช่น การทำจิตบำบัด การให้คำปรึกษา รวมถึงการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด เป็นต้น 
  • การรักษาวิธีอื่นๆ เช่น การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy), การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial magnetic stimulation) เป็นต้น 

วิธีการต่างๆ เหล่านี้มีงานวิจัยที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน

ดังนั้นเราไม่สามารถสรุปได้ว่า การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าไม่มีประโยชน์ สำหรับทางการแพทย์ก็ยังเป็นเรื่องน่าสนใจว่า กลไกที่แท้จริงของการเกิดโรค และยารักษาโรคยังมีเรื่องให้ศึกษาและทำความเข้าใจอีกมาก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษา แนะนำให้พูดคุย และทำความเข้าใจร่วมกับจิตแพทย์ที่ดูแลรักษาอยู่จะดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook