“นมถั่วเหลือง” กับประโยชน์และข้อควรระวังที่ควรรู้ก่อนดื่ม

“นมถั่วเหลือง” กับประโยชน์และข้อควรระวังที่ควรรู้ก่อนดื่ม

“นมถั่วเหลือง” กับประโยชน์และข้อควรระวังที่ควรรู้ก่อนดื่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นมถั่วเหลือง เป็นนมที่ทำจากถั่วเหลืองบดและต้ม กรองเอาเฉพาะน้ำนม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งวิตามินเอ บี ดี และแร่ธาตุอย่างแคลเซียม นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ผู้ที่แพ้แลคโตสในนมวัว หรือกินเจ มังสวรัติ สามารถดื่มนมถั่วเหลืองแทนได้

นมถั่วเหลือง ทำจากอะไร

นมถั่วเหลือง หรือน้ำเต้าหู้ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากถั่วเหลือง โดยผ่านกระบวนการบดและต้มกรองเอาเฉพาะน้ำ เมื่อได้นมถั่วเหลืองแล้วอาจจะปรุงรสชาติเพิ่มด้วยน้ำตาลหรือเกลือก็ได้ รวมถึงอาจเพิ่มคุณประโยชน์ต่างๆ ด้วยการใส่ลูกเดือย ถั่วแดง ธัญพืชอื่นๆ ในนมถั่วเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของนมถั่วเหลือง

  • โปรตีน 7 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
  • ไขมัน 4 กรัม
  • ไฟเบอร์ 2 กรัม
  • น้ำตาล 1 กรัม
  • ไขมันอิ่มตัว 5 กรัม

5 ประโยชน์ดีๆ จากนมถั่วเหลือง

  1. นมถั่วเหลือง โปรตีนทดแทนสำหรับคนไม่ดื่มนมวัว

โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ในคนที่แพ้แลคโตสในนมวัว หรือคนที่รับประทานมังสวิรัติ หรือกินเจ ก็สามารถทดแทนโปรตีนที่น้อยลงได้ด้วยการดื่มนมถั่วเหลือง

  1. นมถั่วเหลือง แหล่งแคลเซียมชั้นดี

นมถั่วเหลือง ก็เหมือนกับนมทั่วไปที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก กระดูกเปราะบาง และโรคกระดูกพรุนได้

  1. นมถั่วเหลือง ลดคอเลสเตอรอลหรือไขมันในร่างกาย

ถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวและโปรตีนที่อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ป้องกันการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง

  1. นมถั่วเหลือง ลดอาการวัยหมดประจำเดือน

นมถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งเป็นสารอาหารจากพืชที่อยู่ในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens) มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจลดลงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ดังนั้น การรับประทานนมถั่วเหลืองอาจช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ (Hot Flush)

  1. นมถั่วเหลือง บำรุงสมอง

นมถั่วเหลืองมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง รวมถึงโอเมก้า 3 อาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์

ข้อควรระวังในการดื่มนมถั่วเหลือง

  • ผู้ที่แพ้ถั่ว ไม่ควรดื่มนมถั่วเหลือง
  • ผู้ป่วยเบาหวาน ควรสังเกตปริมาณน้ำตาลข้างฉลากโภชนาการก่อนดื่ม เพราะในนมถั่วเหลืองบางยี่ห้อ หรือบางสูตร อาจใส่น้ำตาลเพิ่ม
  • หญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรดื่มนมถั่วเหลืองมากจนเกินไป หรือดื่มแทนเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้
  • เด็ก และทารก สามารถดื่มนมถั่วเหลืองได้บ้าง แต่ไม่ควรให้ดื่มแทนนมผงสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะในนมถั่วเหลืองอาจมีสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กเล็กไม่เพียงพอ
  • อาจเสี่ยงนิ่วในไต เพราะถั่วเหลืองมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่เป็นสารยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุ รวมถึงยังเป็นสารส่วนประกอบของนิ่ว อาจก่อให้เกิดนิ่วในไตได้
  • อาจเสี่ยงไฮโปไทรอยด์ นมถั่วเหลืองอาจไปรบกวนการดูดซึมตัวยาเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) ที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยภาวะขาดไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม สามารถกินดื่มนมถั่วเหลืองได้ แต่ควรดื่มห่างจากการรับประทานยาไทรอยด์ 4 ชั่วโมง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook