"กัญชา" รักษาโรค "นอนไม่หลับ" ได้หรือไม่

"กัญชา" รักษาโรค "นอนไม่หลับ" ได้หรือไม่

"กัญชา" รักษาโรค "นอนไม่หลับ" ได้หรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มีวิธีที่จะใช้กัญชาในการรักษาอาการนอนไม่หลับได้อย่างปลอดภัยหรือไม่

ข้อมูลจาก สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ระบุว่า สารในกัญชาที่มีผลต่อร่างกายในทางการแพทย์ หลักๆ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  1. THC (delta-9-tetrahydrocannabinol)
  2. CBD (cannabidiol)

พืชกัญชาส่วนใหญ่มีสาร THC สูงกว่าสาร CBD การบริโภคกัญชา หรือผลิตภัณฑ์กัญชาที่ไม่ได้สกัดแยกสารทางการแพทย์อย่างมีมาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะได้รับโทษจากสาร THC ที่มีปริมาณสูงเกินไป

กัญชา กับการรักษาอาการนอนไม่หลับ

ขณะนี้ (สิงหาคม 2565) กัญชายังไม่ได้ถูกรับรองอย่างเป็นทางการเพื่อใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากงานวิจัยที่มีขณะนี้ยังมีระดับคุณภาพต่ำ ยังไม่ได้มาตรฐาน เพราะผู้เข้าร่วมวิจัยมีจำนวนน้อย และหลายงานวิจัยยังขาดกลุ่มควบคุม

นอกจากนี้ ผลการวิจัยที่มีอยู่ในขณะนี้ มีความกระจัดกระจาย ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ใช้กัญชารักษาอาการนอนไม่หลับ เพราะถึงแม้กัญชาจะจะมีผลช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้หลับได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีหลายรายงานที่พบว่าทำให้การนอนหลับแย่ลง อีกทั้งผู้ใช้จะไม่สามารถหยุดใช้กัญชาได้ เพราะจะมีอาการขาดยา และจะยิ่งทำให้เกิดความทรมาน หลับได้ยากขึ้น

ข้อควรระวังในการใช้กัญชารักษาอาการนอนไม่หลับ

  1. กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ เกิดจากฤทธิ์ของสาร THC ไม่สามารถหยุดใช้ได้ เมื่อหยุดใช้จะเกิดภาวะขาดกัญชา ซึ่งจะทำให้การนอนหลับยากขึ้น ประสิทธิภาพการนอนหลับแย่ลง เกิดความรู้สึกทรมาน ส่งผลทำให้ต้องกลับไปใช้กัญชาต่อเนื่อง
  2. กัญชามีฤทธิ์ทำลายการทำงานสมอง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการเกิดอาการทางจิตเวช ทำให้การรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมเสียไปเกิดอาการประสาทหลอน อาการหลงผิด และอาการซึมเศร้า
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อความสามารถของสมอง ทำให้ความสามารถต่างๆ ของสมองแย่ลง ทั้งการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การบริหารจัดการ การวางแผน ความจำ การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมแย่ลง

การใช้กัญชาเพื่อช่วยเรื่องการนอนหลับจึงมีความเสี่ยงที่ได้รับผลด้านลบมากกว่าผลด้านบวก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook