แบบทดสอบ คุณเสี่ยง "โรคหัวใจ-หลอดเลือด" มากแค่ไหน

แบบทดสอบ คุณเสี่ยง "โรคหัวใจ-หลอดเลือด" มากแค่ไหน

แบบทดสอบ คุณเสี่ยง "โรคหัวใจ-หลอดเลือด" มากแค่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แบบทดสอบ คุณเสี่ยง "โรคหัวใจ-หลอดเลือด" มากแค่ไหน หลายท่านน่าจะรู้จักหรือคุ้นหูกับ กลุ่มโรค NCDs หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกันไม่มากก็น้อย จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ระบุเอาไว้ว่า กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นเป็นชื่อเรียกกลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากไลฟ์สไตล์วิถีการใช้ชีวิต เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่เป็นประจำ บุคคลที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารหวานมันเค็มจัด บุคคลที่ขาดการออกกำลังกายก็มักจะเกิดกลุ่มอาการนี้ สำหรับประเทศไทย โรคในกลุ่ม NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่

  1. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
  2. โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases)
  3. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  4. โรคอ้วนลงพุง (Obesity)
  5. โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
  6. โรคมะเร็ง (Cancer)

Cardiovascular disease คืออะไร

อาจารย์ ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง แพทย์สาขากายภาพบำบัดระบบประสาท สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระบุว่า Cardio หมายถึง “เกี่ยวกับหัวใจ” vascular หมายถึง “หลอดเลือด” disease หมายถึง “โรค” เมื่อเรานำความหมายมารวมกันทั้งหมด ก็จะหมายความว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวายเฉียบพลัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพาตครึ่งซีก (หรือ stroke) อีกด้วย

สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่นการรับประทานที่มากเกินพอดี รับประทานอาหารรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด รับประทานผักผลไม้น้อย มีกิจกรรมทางกายลดลง ไม่ออกกําลังกาย เครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดภาวะนํ้าหนักเกิน อ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และนําไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด

Thai CV Risk Score คืออะไร

Thai CV Risk Score คือ การนําปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มาคิดเป็นคะแนนที่สามารถแปลผลเป็นตัวเลขความเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต สําหรับคนไทยโดยเฉพาะ โดยในแต่ละประเทศก็จะมีชื่อของ risk score นี้ที่แตกต่างกันออกไป เช่น Framingham Risk Score for Hard Coronary Heart Disease จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ตัวอย่างแบบประเมิน Framingham Risk Score for Hard Coronary Heart Disease

รูปที่ 1 ตัวอย่างแบบประเมิน Framingham Risk Score for Hard Coronary Heart Disease

Thai CV risk score พัฒนาจากการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยตรง เป็นการติดตามคนไทยกลุ่มพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี มีผู้เข้าร่วมในโครงการถึง 9,000 คน โดยมีกลุ่มประชากรทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด (กาญจนบุรี และ ตาก) โดยสรุปปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 8 ข้อ ดังนี้คือ

  1. อายุ (ปี)
  2. เพศ (หญิง/ชาย)
  3. การสูบบุหรี่ (สูบ/ไม่สูบ)
  4. โรคเบาหวาน (เป็น/ไม่เป็น)
  5. ความดันโลหิตตัวบน (มิลลิเมตรปรอท)

หากมีผลเลือดประกอบด้วย ก็จะใช้ค่า

  1. คอเลสเตอรอลรวม (Cholesterol) มีหน่วยเป็น mg/dl

หากท่านไม่มีผลเลือดก็จะใช้ค่าของ

  1. รอบเอว มีหน่วยเป็นนิ้ว และ
  2. ส่วนสูง มีหน่วยเป็นเซนติเมตร

วิธีประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตด้วยตนเอง

  1. ไปที่เว็บไซต์ https://www.rama.mahidol.ac.th ของคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

  1. ใส่ค่าต่างๆให้เรียบร้อย โดยสามารถที่จะใช้ค่าผลเลือด หรือไม่ใช้ค่าผลเลือดก็ได้

  2. เมื่อท่านใส่ค่าต่างๆเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม “แสดงผล”

วิธีประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตด้วยตนเอง

โปรแกรมจะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าว่าทำนายผลว่าอย่างไร โดยตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น

ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปีของท่าน 4.33% จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงน้อยซึ่งใกล้เคียงกับระดับความเสี่ยงของคนไทยเพศเดียวกัน อายุเท่ากัน และปราศจากปัจจัยเสี่ยง

ข้อแนะนำเบื้องต้น

เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดในอนาคต ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และตรวจสุขภาพประจำปี

สิ่งที่พึงระวังในขณะที่ใช้โปรแกรมนี้

  1. ผลลัพธ์ที่ได้เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันและโรคเส้นเลือดสมองตีบตันในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า
  2. ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้
  3. การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน
  4. ผลการประเมินนี้ห้ามนำไปใช้อ้างอิงในการค้า เช่น การทำประกันชีวิต และไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจหรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

อ่านเพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook