อันตรายจากการ “กลั้นจาม” เรื่องเล็กอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่

อันตรายจากการ “กลั้นจาม” เรื่องเล็กอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่

อันตรายจากการ “กลั้นจาม” เรื่องเล็กอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊คแฟนเพจ “ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว” กล่าวว่าการ “กลั้นจาม” หรือการกลั้นหายใจ บังคับตัวเองไม่ให้จามออกมา หรือพยายามเอามือปิดปาดปิดจมูกไม่ให้จามออกมา อาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายอย่างที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน

____________________

ไม่ควรอั้นจามแบบปิดทั้งจมูกและปาก เพราะแรงดันที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

การจามเป็นการผลักดันลมออกจากทางเดินหายใจอย่างเร็วและแรง ปลดปล่อยพลังงานอย่างมากมายดังจะเห็นได้จากที่บางครั้งที่เราจามแล้วน้ำมูกสามารถลอยไปโดนหน้าคนที่อยู่ห่างเราได้หลายๆเมตร

บางคนอาย ไม่กล้าจามในที่สาธารณะ บ้างกลัวน้ำมูกไหลเปื้อน บ้างกลัวเสียงดัง จึงใช้วิธีอั้นลงคอ หรือเอามือบีบจมูกบีบปากแล้วพยายามจามเสียงเบาๆ แรงดันลมก็ติดอยู่ในคอ

หรือบางคนจามแบบปิดปาก กะว่าให้ลมออกจมูกแต่ลืมไปว่าตัวเองเป็นหวัดกำลังคัดจมูก ลมเลยออกไม่ได้ กลายเป็นอั้นจามแบบไม่ได้ตั้งใจก็มี

การบาดเจ็บที่เกิดได้ที่นั่งอ่านๆดู มีตั้งแต่

- กระดูกกล่องเสียงหัก (อั้นจามแล้วมีเสียงกระดูกหักกร๊อบ ไปตรวจเจอว่ากระดูกอ่อนตรงกระเดือกหัก)

- คอบวมจากลมรั่ว (ลมแทรกไปตามเนื้อเยื่อ ไปอยู่ใต้ผิวหนัง)

- บาดเจ็บตำแหน่งคอด้านหลัง (เพดานอ่อนฉีกขาด , เลือดออกที่ผนังคอด้านหลัง)

- ไม่นับพวกหูชั้นกลางอักเสบ กับปวดเจ็บในโพรงไซนัส

 

ดังนั้นควรจามแบบจามไปเลย หรือบางคนกลัวน้ำมูกเลอะเทอะจะปิดจมูกก็พอไหว แต่ขอให้จามออกทางปากอย่าไปอุดจนลมไม่มีทางไป

____________________

 เห็นเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ แต่ก็อันตรายใช่เล่นนะคะ ครั้งหน้าปิดปากเพื่อป้องกันน้ำลาย น้ำมูกกระเด็น มากกว่าไปอุดปากอุดจมูกแทนจะดีกว่าเนอะ ยอมอายหน่อย แต่ทุกคนเข้าใจแน่นอน เพราะเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ค่ะ

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก เฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook